ลูกทุ่ง เลือดสุพรรณ ไม่มีวันตก เรียกว่ามีตัว ตายตัวแทน คนโน้นดับ คนนี้ดัง เรียกว่าวงการเพลง ลูกทุ่งจะขาดเลือดสุพรรณไม่ได้เลย ในยุคนี้ที่กําลังฟู่ฟ่า ก็มี ศรเพชร ศรสุพรรณ หรือ บุญทํา คล้ายลมั่ง ชื่อ ที่คุณพ่อคุณแม่ตั้งให้ ถือกําเนิดที่ ต. บ้านดอน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี มีพี่น้องด้วยกัน 5 คน เป็นชาย 3 หญิง 2 ศรเพชรเป็นคนแรก และด้วยการเป็นคนชอบร้องเพลงนี่เอง จึงหันเหชีวิตให้กลายมาเป็นนักร้องลูกทุ่งชั้นแนวหน้าอยู่ทุกวันนี้ และก่อนจะเป็นนักร้องก็ลุยดะมาตั้งแต่ ประกวดงานวัด เชียรร่วง แม้กระทั่งบนหลังควาย จนเป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อนฝูงในละแวกบ้านเดียวกัน ในที่สุดก็ผละจากกลิ่นโคลนสาปควาย เข้ามาใช้ชีวิตอมบ้างไม่ อิ่มบ้างในกรุงเทพฯ แต่ทว่าโชคยังช่วยเขาอยู่ โดยที่ไม่ต้องอดมากเหมือนกับนักร้องบางคน เพราะได้เทรนเนอร์มือดีคือ กิมเลี้ยง หรือที่ทุกคนในวงการรู้จักกันดีในหมู่เพื่อนฝูงคือ เสี่ยเลี้ยง ผู้มีน้ำใจดุจแม่น้ำโฮงโหว มีสายตา มองการไกล เห็นลีลาการร้องของเจ้าหนุ่มลูกทุ่งคนนี้มีแววจะเป็นยอดลูกทุ่งในอนาคตได้ จึงจับอัดแผ่นเสียง พอเพลงแรกออกเท่านั้น ชื่อศรเพชร ศรสุพรรณ ก็ติด บอร์ดของนักร้องลูกทุ่ง และก็อีกหลาย ๆ เพลงตามมา จนดังกระฉ่อนไปทั่วเมืองไทย จดเหนือจดใต้ ตะวันตก ตะวันออก เอ่ยชื่อ ศรเพชร ศรสุพรรณ แม้กระทั่ง เด็ก ๆ ยังรู้จัก ยิ่งในยุคนี้ เพลงไปโดนเขาหลอกอีกแล้ว กําลังดังไปทั่ว น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก สําหรับการแสดง บนเวทีก็พรึบพรั่บ พร้อมไปด้วยแสงสีและเหล่าหางเครื่องล้วนแต่รูบร่างระหงษ์เป็นที่ประทับตา ประทับใจของบรรดาแดนเพลงยิ่งนัก และด้วยอัธยาศรัยไมตรีของเขาแล้ว ยากนักที่แฟนเพลงจะลืมได้ลง และเขาคงจะยืน หยัดอยู่เป็นขวัญใจลูกทุ่งอีกนานเท่านาน
หมวดหมู่: ศิลปินเพลงไทยลูกทุ่ง
ศรีไพร ลูกราชบุรี ศิษย์เอกอีกคนหนึ่งของ สุรพล สมบัติเจริญ
ศรีไพร ลูกราชบุรี ศิษย์เอกอีกคนหนึ่งของ สุรพล สมบัติเจริญ
โดย สัมพันธ์ พัทลุง
สวัสดีครับ ท่านสมาชิกที่เคารพ วันนี้จะพาท่านไปรู้จักกับศิษย์เอกของครู “สุรพล สมบัติเจริญ” อีกสักคนหนึ่ง เขาผู้นั้นคือ “ศรีไพร ลูกราชบุรี” เป็นนักร้องที่ร้องเพลงได้เด็ดขาดมาก มีเสียงเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ยากที่ใครจะเลียนแบบ เข้าสู่วงของครูสุรพลโดยไม่ต้องสมัครคัดเลือกเหมือนนักร้องคนอื่น และเป็นนักร้องในอดีตเพียงคนเดียวก็ว่าได้ที่วิ่งรอกร้องเพลงกับวงดนตรีและเรียนหนังสือไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากตอนที่ครูสุรพลรับเขาเข้ามาใหม่ ๆ ยังไม่จบการศึกษา เขาร้องเพลงบันทึกเสียงไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพลง “ราชบุรีแห่งความหลัง” “ลาทุ่งไกลบาง” “วาสนาพาให้เห็น” “ขอเพียงเป็นเพื่อน” “คนดีของแม่” “วอนสวรรค์” “จอกแจกจอแจ” “เอาใจเมียน้อย” “แม่สะเดาบ้านนา” “รักกับพี่ไม่มีขาดทุน” และอีกมากมายซึ่งล้วนแต่โด่งดัง แต่น่าเสียดายที่เขาด่วนจากไปเสียก่อน เมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๓
ประวัติความเป็นมา ศรีไพร ลูกราชบุรี
ชื่อจริง ศักดา ดีแฉล้ม
เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๘๖ ปีมะแม
บิดาชื่อ นายสุวรรณ ดีแฉล้ม
มารดาชื่อ นางอบ ดีแฉล้ม
เกิดที่ แถววัดบางน้อยในต จ.สมุทรสงคราม แล้วไปอยู่ที่ จ.กาญจนบุรี
มีพี่น้อง ๖ คน เป็นคนโต
การศึกษา จบชั้นประถมปีที่ ๔ และชั้นมัธยมปีที่ ๖ ที่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี หลังจากนั้นพ่อแม่ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่จังหวัดราชรี จึงไปเรียนต่อที่นั่น และเรียนจบอาชีวะชั้นสูง ปี ๓ หรือที่เรียกว่า ปวส.ในปัจจุบัน
ชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก ในช่วงที่เรียนหนังสือก็เคยแอบหนีอาจารย์ไปประกวดร้องเพลงตามงานทั่วไปอยู่เป็นประจำ และได้รับรางวัลชนะเลิศมาครอบครองมากมาย เพลงที่ใช้ร้องประกวดในยุคนั้นส่วนมากจะเป็นเพลงของ “ชัยชนะ บุญญะโชติ” หรือไม่ก็ “สมยศ ทัศนพันธ์” เส้นทางการมาเป็นนักร้อง สมัยที่เรียนหนังสืออยู่ที่จังหวัดราชบุรี มีโอกาสได้รู้จักกับคุณหมอ “แสวง สมประสงค์” ซึ่งเป็นแพทย์ชื่อดังของจังหวัดราชบุรี
และเขาให้ความนับถือคุณหมอเป็นอย่างมาก “หมอแสวง” ได้แต่งเพลงขึ้นมาเพลงหนึ่งชื่อ “สุพรรณรำพึง” และมอบให้เขาขับร้องในงานของโรงเรียน และเขาก็ร้องได้ไพเราะ ประทับใจคุณหมอมาก
วันหนึ่ง เมื่อวงดนตรีของครู “สุรพล สมบัติเจริญ” เดินทางไปทำการแสดงที่โรงเรียนจังหวัดราชบุรี คุณหมอแสวงได้นำเขาไปฝากกับครูสุรพล ครูสุรพลให้เขาร้องเพลงโชว์หน้าเวทีให้ฟัง เขาก็ร้องเพง “สุพรรณรำพึง” ซึ่งนับว่าเป็นการร้องเพลงหน้าเวทีดนตรีครั้งแรกของเขา ครูสุรพลเห็นมีแววจึงรับไว้เปเป็นนักร้องประจำวงตั้งแต่วันนั้น แต่เนื่องจากในขณะนั้นเขายังเรียนไม่จบ จึงเดินสายไปร้องเพลงกับวงดนตรีของครูสุรพลด้วย เรียนหนังสือไปด้วย จนเรียนจบอาชีวะชั้นปีที่ ๓ แล้ว จึงเก็บข้าวของเดินทางไปอยู่กับครูสุรพล ที่สำนักงานซอยสารภี ๓ วงเวียนใหญ่
ไม่นานครูสุรพลก็ให้เขาบันทึกเสียงเพลงแรกในชีวิตชื่อ “ราชบุรีแห่งความหลัง” ผลงานการประพันธ์ของ คุณหมอ “แสวง สมประสงค์” และครูสุรพลตั้งชื่อให้ว่า “ศรีไพร ลูกราชบุรี” มีหลายคนพูดกันว่าเพลง “ราชบุรีแห่งความหลัง” เป็นผลงานของครูสุรพล แต่ได้รับคำยืนยันจากพี่ “พนมไพร ลูกเพชร” ว่า เป็นผลงานของคุณหมอแสวง คุณหมอผู้ที่แผ้วถางทางชีวิตของเขาให้มาเป็นนักร้อง อยู่กับวงครูสุรพลเขาร้องเพลงที่โด่งดังไว้มากมาย ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งผลงานเพลงส่วนมากจะเป็นการประพันธ์ของครู “จิตรกร บัวเนียม” เขาอยู่กับวงครูสุรพลจนกระทั่งครูเสียชีวิต ต่อจากนั้นอยู่กับวงศรีนวล สมบัติเจริญ ต่อมาแยกมาอยู่กับวง “ศิษย์สุรพล” เมื่อวง “ศิษย์สุรพล” สลายตัว ก็มาตั้งวงดนตรีของตัวเอง แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงเลิกวง หันมาร้องรับเชิญทั่วไป
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ เขาก็ไปร้องประจำอยู่ที่ห้องอาหาร “บินหลา” ที่จังหวัดปัตตานี และชีวิตในการเป็นนักร้องห้องอาหารนี่เอง ทำให้เขาเป็นคนดื่มเหล้า จนทำให้สุขภาพไม่สมบูรณ์ จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ เขาเริ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน หยุดร้องเพลงเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว พออาการดีขึ้นก็กลับไปร้องเพลงอีก จนถึงปี พ.ศ.๒๕๔๐ อาการป่วยของเขาเริ่มทรุด จึงหยุดร้องเพลงอย่างถาวร และกลับมารักษาตัวที่โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี แต่จากสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมเหลือกำลัง หมดหนทางที่หมอจะยื้อและเยียวยา เพื่อให้ชีวิตของเขายืนหยัดต่อไปได้ ในที่สุดเขาก็เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในขณะที่อายุได้ ๕๗ ปี
ศรีไพร ลูกราชบุรี ได้สมรสอยู่กินกับ “แสงจันทร์ ดาวลอย” นักร้องสาวเสียงดีอีกคนของวงดนตรี “สุรพล สมบัติเจริญ” อยู่กันมาจนวาระสุดท้าย แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน
ใครคิดถึง “ศรีไพร ลูกราชบุรี” ผ่านไปเมืองกาญจน์ แวะเยี่ยมเยียนพี่ “แสงจันทร์ ดาวลอย” ได้ที่บ้าน อ.ท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันนี้ พี่แสงจันทร์มีทีมงาน “แด๊นซ์เซอร์”
ระดับคุณภาพ ไว้บริการงานดนตรีทั่วไป ใครมีงานอยากให้ไปรับใช้ ติดต่อได้โดยตรงที่หมายเลข ๐๘๙-๕๑๙๕๖๑๗
รายชื่อเพลง ของ ศรีไพร ลูกราชบุรี ที่บันทึกแผ่นเสียงไว้
1.กอดหมอนนอนหนาว
2.ขบวนการกลองยาว
3.ขอยืมกอด (เรียม ดาราน้อย ร้องแก้…งดเชื่อเบื่อทวง)
4.ขอโทษที (เรียม ดาราน้อย ร้องแก้..โกรธพี่ไม่ลง)
5.ขอโทษที่…บันทึกครั้งที่ 2 (โสนน้อย เมืองสุพรรณ ร้องแก้…โกรธพี่ไม่ลง)
6.คนจนน้อยใจ (นงเยาว์ ดาวสุพรรณ ร้องแก้…ชื่นใจคนจน)
7.คนดีของแม่ (สกาวเดือน ร้องแก้…แน่ต้องมาขอ)
8.คนดีของแม่…บันทึกครั้งที่ 2
9.คนรักกันแท้ๆ
10.คนไหนแน่…ร้องคู่ พนม นพพร (ละอองดาว+สกาวเดือน ร้องแก้…คนไหนแน่)
11.คู่ใจ
12.ใจทาส
13.จอกแจกจอแจ
14.ฉันยังเป็นโสด
15.ได้เสีย
16.ดังจริงๆ
17.เต๊ะเป็นบ้า
18.แต๊น่าอ้ายบ่ขี้จุ๊ (ประไพพร ปัทมเวณุ ร้องแก้…แต๊น่าอ้ายนี้ขี้จุ๊)
19.แต่งก่อนผ่อนที่หลัง (สกาวเดือน ร้องแก้…รักพี่ยอมให้ผ่อน)
20.นางลอย (เพลงเก่าของ…ทิว สุโขทัย)
21.บ้านใกล้
22.บ้านจอมบึง
23.บาร์ลูกทุ่ง (เพลงเก่าของ… พนาไพร ลูกราชบุรี )
24.บ่ฮัก-บ่มา
25.เบิ่งข้อยหน่อยสาว (สกาวเดือน ร้องแก้…เบิ่งเจ้าบ่ได้)
26.พี่พูดเพื่อลูก
27.เพราะพี่จน
28.มาเป็นเมียน้อยของพี่เถิดน้อง
29.แม่สะเดาบ้านนา
30.แม่สะเดาบ้านนา…บันทึก ครั้งที่2 (ละอองดาว ร้องแก้…พ่อผักบุ้งบ้านนา)
31.แม่สะตอเมืองสตูล
32.แม่ไฝแก้มขวา
33.ไม่รักก็ไม่บอก (ละอองดาว ร้องแก้ยังไม่ทราบชื่อเพลงรอข้อมูลอยู่)
34.ไม่รักช่างเถอะ
35.รถติดจึงผิดนัด
36.รักกับพี่จะให้ขี่รถเบนซ์
37.รักกับพี่ไม่มีขาดทุน
38.รักข้ามแดน (ละอองดาว ร้องแก้…รักแท้จากกัมพูชา)
39.รักจนเข้าเส้น
40.รักจนเข้าเส้น…บันทึก ครั้งที่2
41.รักซุ่ม
42.ราชบุรีแห่งความหลัง (เพลงแรกที่บันทึกเสียง)
43.ริมโขงหนองคาย
44.รำเกี้ยวสาว
45.รำคาญบ้านข้าง
46.รำคาญเมีย
47.รำวงเกี้ยวสาว (ละอองดาว ร้องแก้…รำวงรับรัก)
48.เรื่องมันจริง
49.ลาทุ่งไกลบาง (เพลงที่ 2 ที่บันทึกเสียง)
50.ลูกทุ่งเข้าไร่ (ร้องร่วม กับ สมบัติ เมทะนี / พร บูรพา / พนาไพร ลูกราชบุรี)
51.วอนสวรรค์
52.วันสงกรานต์ (ร้องคู่ ละอองดาว)
53.วาสนาพาเห็น
54.ศรีไพรเกิดใหม่
55.ศรีไพรไร้แฟน
56.เสน่ห์มนต์นาง
57.สวยจริงเธอ (เพลงแรกที่ร้องแนวรำวงสนุกสนานในแบบฉบับของคุณศรีไพร)
58.หนุ่มไทยเพ้อรัก (ละอองดาว ร้องแก้…รอรักจากหนุ่มไทย)
59.หนูน้อยกลอยใจ
60.หมดตัว
61.หลงควันเมืองกรุง
62.หากินทางนึก
63.อกแตกที่สตูล
64.อยากจะดูหัวใจ
65.อยากจะตาย
66.อยากมีเมียแก่
67.อย่าเต๊ะ
68.อย่าร้องลูกพ่อ
69.อย่าลืมอิสาน
70.อุตรดิตถ์ (สกาวเดือน ร้องแก้…สาวอุตรดิตถ์)
71.อวดดีจนมีน้อง
72.เอาของพี่คืนมา
73.เอาใจแม่ยาย
74.เอาใจเมียน้อย
75.ฮักสาวอำนาจเจริญ
76.ขอเพียงเป็นเพื่อน
เพลงที่ร้องหน้าเวที วงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ แต่ไม่ได้บันทึกเสียง
1.คึดถึงบุหงา (เนตรแก้ว แววสุดา ร้องแก้…บุหงารำพึง)
2.จ่าเอก (แสงจันทร์ ดาวลอย ร้องแก้…ขวัญใจจ่าเอก)
อนุกูล สงขลา
ประมวลภาพ ศรีไพร ลูกราชบุรี
ลีลาการขับร้องที่โดดเด่น-เป็นเอกลักษณ์
กับคู่ชีวิต “แสงจันทร์ ดาวลอย” เจ้าของเพลง ไม่ลืมสวนแตง – รอพี่มาขอ ฯลฯ
กับเพื่อนรัก “ศักดิ์ชาย วันชัย” ถ่ายที่สงขลา
พจน์ พนาวัน ต้นตำหรับเพลง “ยิ้มแป้น”
พจน์ พนาวัน ต้นตำหรับเพลง “ยิ้มแป้น”
โดยคุณ สัมพันธ์ พัทลุง
ถ้าย้อนไปเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว ไม่มีใครที่จะไม่รู้จักเพลง “ยิ้มแป้น” ซึ่งขับร้องโดย “พจน์ พนาวัน” เพลงนี้โด่งดังมากในยุคนั้น ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ต่างก็ร้องเพลงนี้ได้ พจน์ พนาวัน ได้ชื่อว่าเป็นนักร้องที่ “ดังเพลงเดียว” เหมือนกับนักร้องอีกหลาย ๆ คน เช่น “หฤทัย หิรัญญา” ดังเพลง “หนูไม่ยอม” “ญาณี ชุติมา” ดังเพลง “น้องเมีย” “เพลินพิศ พูลชนะ” ดังเพลง “เหมือนข้าวคอยเคียว” “เสมา ทองคำ” ดังเพลง “ธาตุแท้ของเธอ” “ดุสิต ดุริยศักดิ์” ดังเพลง “ลูกจ้างอย่างเรา” “สวนสน มนต์สวรรค์” ดังเพลง “คอยรักที่สถานี” เป็นต้น ทั้งที่นักร้องเหล่านี้ต่างก็ร้องบันทึกเสียงกันไว้คนละหลาย ๆ เพลง
สำหรับเขา “พจน์ พนาวัน” ถึงแม้จะดังเพลงเดียว แต่ก็เป็นเพลงที่มีคุณภาพ และมีคุณค่าต่อวงการเพลงลูกทุ่ง เพราะเพลง “ยิ้มแป้น” ได้รับรางวัลเพลงดีเด่นในงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย” ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2534
พจน์ พนาวัน ชื่อจริง สุพจน์ โกมลเศรษฐ์ เกิดเมื่อ 3 มีนาคม 2479 ที่บ้านพักกรมสรรพสามิต ราชวัตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ เนื่องจากคุณพ่อทำงานอยู่ที่กรมสรรพสามิต คุณพ่อชื่อเลิศ คุณแม่ชื่อแจ๋ว โกมลเศรษฐ์ มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน ชาย 2 หญิง 1 เป็นคนสุดท้อง จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนศิริสาสน์ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนนันทะศึกษา
ก่อนจะเข้าสู่วงการเพลง เคยทำงานอยู่ที่กรมสรรพสามิต แล้วย้ายไปทำที่โรงยาฝิ่น ทำอยู่นานหลายปีเหมือนกัน เมื่อโรงยาฝิ่นถูกยุบ ก็ย้ายไปทำงานอยู่ที่ “โรงงานสุราอยุธยา” ในช่วงเวลาที่เขาทำงานอยู่ เงินเดือนพอใช้บ้างไม่พอใช้บ้าง จึงคิดหาลำไพ่พิเศษด้วยการสมัครร้องเพลงประกวดตามงานวัด ซึ่งขณะนั้นการร้องเพลงประกวดตามงานวัดต่าง ๆ กำลังเป็นที่นิยม เรียกว่าเวทีงานวัดเป็นที่ล่ารางวัลสำหรับนักร้องสมัครเล่น และยังเป็นบันไดสำหรับไต่เต้าไปสู่การเป็นนักร้องอาชีพด้วย สุพจน์คนหนึ่งที่เป็นนักล่ารางวัล ประกวดไปเรื่อยทุก
วัดที่มีการร้องเพลงประกวด และชนะเลิศ เกือบทุกวัดเช่นกัน แนวเพลงที่เขาโปรดที่สุดคือ “คำรณ สัมบุณณานนท์” และจากการร้องเพลงประกวดงานวัดนี่เอง ทำให้เขาได้พบกับบุคคลสำคัญผู้หนึ่งซึ่งทำให้ชีวิตของเขาพลิกผัน นั้นคือคุณ “สุมิตร น้อยเศรษฐ์”
วันหนึ่งเขาไปขึ้นเวทีร้องเพลงประกวดที่ “วัดใหม่พิเรนทร์” ซึ่งวันนั้นเขาใช้เพลงของ “น้ำตาชาวนา” ของ “คำรณ สัมบุณณานนท์” ขึ้นประกวด และหนึ่งในคณะกรรมการที่ร่วมกันตัดสินในวันนั้น ก็คือ คุณ “สุมิตร น้อยเศรษฐ์” คุณสุมิตรประทับใจในน้ำเสียงของเขาหลังจากเสร็จสิ้นการประกวดได้เรียกสุพจน์มาคุยด้วย บอกว่าจะสนับสนุนให้เป็นนักร้อง ทำให้ “สุพจน์” ตื่นเต้นและดีใจเป็นที่สุดที่จะได้เป็นนักร้อง และคุณสุมิตรก็สนับสนุนเขาจริง ๆ โดยแนะนำให้รู้จักกับครูเพลง 2 ท่าน คือ ครูพีระ ตรีบุปผา และครูชาญชัย บัวบังศร เพื่อช่วยกันสนับสนุน หลังจากนั้นครูเพลงทั้ง 3 ท่านก็พาไปฝากเป็นนักร้องประจำวงดนตรี “ฉลามขาว” ของทหารเรือ ซึ่ง ทำการแสดงเป็นประจำอยู่ที่ สทร.ท่าช้าง ทำให้สุพจน์มีโอกาสได้ร้องเพลงหน้าเวทีอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีเวลาว่างก็หมั่นฝึกปรือการเขียนเพลงอย่างจริงจัง โดย คุณสุมิตร น้อยเศรษฐ์ เป็นผู้คอยให้คำแนะนำ ออกจากวง “ฉลามขาว” ก็ไปอยู่กับละครคณะ “วัฒนารมย์” และที่นี้เอง เขาได้ร้องเพลงบันทึกเสียงเป็นครั้งแรกในชีวิต ในเพลง “แผ่นดินไม่สิ้นคนดี” ซึ่งเป็นเพลงที่เขาแต่งไว้ตั้งแต่สมัยอยู่กับวง “ฉลามขาว” โดยคุณ เอกชัย งามเอก พระเอกละครคณะวัฒนารมย์ เป็นผู้ออกทุนให้ ใช้ชื่อในการบันทึกเสียงในครั้งนั้นว่า “สุพจน์ โกมลเศรษฐ์” ซึ่งเป็นชื่อจริง แต่เพลงนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากเขาร้องในแนวของคำรณ ซึ่งขณะนั้นคำรณกำลังมีชื่อเสียง จึงทำให้เพลงแรกของเขาไม่ได้รับความสนใจจากแฟนเพลงทั่วไป
ออกจากละครคณะวัฒนารมย์ ก็ไปอยู่กับวง “เทียนชัย สมยาประเสริฐ” และที่นี่เขาได้แต่งเพลงให้กับนักร้องในวงร้องไว้หลายเพลงเหมือนกัน อยู่กับวง “เทียนชัย สมยาประเสริฐ” ได้ระยะหนึ่ง ก็เริ่มเบื่อกับการเดินสาย “สุพจน์” บอกว่าชีวิตไม่มีความเป็นอิสระ จึงขอลาออกไปพักผ่อนอยู่กับบ้านเสีย 2 ปี อยู่บ้านกับแม่เฉยๆ ไม่ได้ร้องเพลงอีก จน “ชัยชนะ บุญยะโชติ” ชักนำให้ไปอยู่วง “พยงค์ มุกดา” ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุ ๒๙ ปีแล้ว และที่นี่เอง ทำให้เกิดนักร้องที่มีชื่อว่า “พจน์ พนาวัน” ขึ้นในวงการเพลงลูกทุ่ง
ครั้งหนึ่งเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2510 วง “พยงค์ มุกดา” เดินสายใต้ไปทำการแสดงในงานประเพณีชักพระที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สุพจน์มีโอกาสได้ออกไปร้องเพลงหน้าเวที และเขาได้นำเพลง “ยิ้มแป้น” ซึ่งแต่งไว้ตั้งแต่อยู่กับวงเทียนชัย มาร้อง ปรมาจารย์เพลงอย่าง “ครูพยงค์ มุกดา” ได้ฟังรู้สึกชื่นชอบ ทั้งเนื้อหาสาระและจังหวะเพลงเข้าท่าดี กลับถึงกรุงเทพฯ ครูพยงค์ให้นำเพลงนี้ไปบันทึกเสียงทันที และเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า “พจน์ พนาวัน” โดย อาเนี๊ยว ททท. เป็นผู้ตั้งให้ และเพียงเพลง “ยิ้มแป้น” เพลงเดียว ทำให้ชื่อของ “พจน์ พนาวัน” เกิดในวง
การทันที เพลงนี้โด่งดังมากในยุคนั้น ไม่ว่าเด็กและผู้ใหญ่ต่างก็ร้องเพลง “ยิ้มแป้น” ได้ หลังจากนั้นเขามีโอกาสบันทึกเสียงเพลง “ยิ้มหน่อย” ต่อเนื่องมาอีก 1 เพลง พอเป็นที่รู้จัก แต่ไม่ถึงกับดัง และยังมีเพลงชุด “ยิ้ม” ติดตามออกมาอีกหลายเพลง รวมทั้งเพลงในจังหวะรำวงและเพลงทั่วไปอีกหลายเพลง รวมแล้วเขาได้บันทึกเสียงไว้หลายสิบเพลงเหมือนกัน แต่ไม่มีเพลงใดได้รับความนิยมเท่าเพลง “ยิ้มแป้น”
ออกจากวง “พยงค์ มุกดา” ก็มาตั้งวงร่วมกับ “ชินกร ไกรลาศ” นำวงดนตรีเดินสายร้องเพลงกล่อมแฟนอยู่ได้ประมาณ 4 – 5 ปี ก็อำลาชีวิตการร้องเพลง ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุ 35 ปีแล้ว จึงเปลี่ยนอาชีพตัวเองไปทำงานเป็น “พนักงานจัดสินค้า” ให้กับ “การท่าเรือแห่งประเทศไทย” หลังจากนั้นก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับวงการเพลงอีกเลย ในช่วงที่ทำงานอยู่ที่การท่าเรือ เขาเริ่มป่วยด้วยโรค “ถุงลมโป่งพอง” เนื่องจากสูบบุหรี่จัด จนเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยครั้ง
จนกระทั่งเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2535 เวลา 04.00 น. เขาก็เสียชีวิตลง ที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร ด้วยโรคถุงลมโป่งพอง ขณะอายุเพียง 56 ปีเศษ ญาติตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดสุคันธาราม เขตดุสิต กรุงเทพฯ และฌาปนกิจเมื่อวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2535
พจน์ พนาวัน มีภรรยาชื่อ สำเริง โกมลเศรษฐ์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน (คนเล็กเสียชีวิต) ปัจจุบันเหลือ 2 คน (ชาย 1 หญิง 1)
รางวัลเกียรติยศ
1. วันพุธที่ 6 เมษายน 2509 ได้รับพระราชทานเหรียญสังคีตมงคล จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2534 ได้รับรางวัลเพลงดีเด่น งาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย” ครั้งที่ 2
จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในเพลง “ยิ้มแป้น”
เพลงที่ “พจน์ พนาวัน” ร้องบันทึกเสียงไว้ (ยังมีมากกว่านี้)
1. แผ่นดินไม่สิ้นคนดี (ใช้ชื่อ สุพจน์ โกมลเศรษฐ์)
2. ยิ้มแป้น
3. ยิ้มหน่อย
4. ยิ้มหวาน
5. ยิ้มตุ่ย
6. ยิ้มยวน
7. ยิ้มเห็นแก้ม
8. เตี้ยลง เตี้ยลง
9. แสนงอน
10. ขลุ่ยแห่งความหลัง
11. ขวัญใจรำวง
12. บาปรัก
13. เมียจ๋าอย่าขี้เหนียว
14. คิดไม่ตก
15. เบี้ยวจนบี้
16. จับมือเสียไก่
17. พ่ายรัก
18. เดือนเพ็ญ
19. บ้านเรา
20. รำวงนาวี
21. ชะนีหน้าดำ
22. หมดตัว
23. รื่นเริงกลองยาว
24. รักไม่ลืม
25. เช้าแบนเย็นแบน
26. อดีตรักลำน้ำมูล
27.ตามเธอจนเจอดี
28.ตาสวย
29.รักกระจาย
30.ซ่อนใจ
31.นกเอี้ยง
32.เสียงแคนข้ามโขง
33.ชอบของฟรี (เพลงแก้ ไม่ใช่ของฟรี- ผ่องศรี วรนุช)
เสียงซอสั่งสาว ศรชัย เมฆวิเชียร
เนื้อเพลง เสียงซอสั่งสาว
เสียงซออ้อนออแว่วหวาน
โอแม่จอมขวัญจำเสียงซอได้บ่นา
ว่าผู้ใดเขาสีฝากลมมา ว่าผู้ใดเขาสีฝากลมมา
เจ้าบ่ลืมสัญญาต้องจำได้แน่นอน
ซอพี่นี่แทนดวงใจ
รอรับทรามวัยจึงสีซออ้อนวอน
สงสารพี่เถิดงามงอน สงสารพี่เถิดงามงอน
เสียงซอออดอ้อนเหมือนคำวอนของพี่ชาย
เพลงรักจากซอที่สี
ความหมายมันมีน้องเข้าใจหรือไม่
ฟังแล้วน้องจงเห็นใจ ฟังแล้วน้องจงเห็นใจ
อย่าตัดเยื่อใยคนสีซอกล่อมขวัญ
*คิดฮอดโอ๊ยคิดฮอดเหลือหลาย
อยากไปหมั้นหมายแต่ไร้ทองของหมั้น
จึงฝากเพียงเสียงซอแว่วหวาน ท่วงทำนองคล้ายเพลงอ้อนจันทร์
โอ้แม่จอมขวัญอย่าลืมเสียงซอศรชัย
(ซ้ำ*)
โอ้แม่จอมขวัญอย่าลืมเสียงซอศรชัย
(ขอบคุณ ..คุณฟ้าสีเทา.. สำหรับเนื้อเพลงครับ)