คาราบาว

แอ๊ด คาราบาว

คาราบาว เป็นวงดนตรีที่เริ่มต้นจาก นักศึกษาชื่อ ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) และกิรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) ได้รู้จักกันขณะที่เรียนต่อในมหาวิทยาลัยประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นพวกเขาก็ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรีขึ้นและตั้งชื่อว่า “คาราบาว” ซึ่งแปลว่า “ควาย” ในภาษาตากาล๊อก คำว่า “คาราบาว” ถูกนำมาใช้ในฐานะสัญลักษณ์ของวงดนตรี เนื่องจากควายเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการต่อสู้ การทำงานหนัก ความอดทน และเป็นตัวแทนผู้ใช้แรงงาน ด้วยเหตุนี้ ยืนยง โอภากุลได้เลือกใช้คำว่า “คาราบาว” พร้อมกับ “หัวควาย” เป็นสัญลักษณ์ของวงคาราบาวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน

สมาชิกคาราบาว (ยุคคลาสิก) พ.ศ.๒๕๒๔-พ.ศ.๒๕๓๑

1. นายยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) (กีต้าร์ , ร้องนำ) หัวหน้าวงคาราบาว 2. นายกิรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) (คียบอร์ด, เพอคัสชั่น, กีต้าร์)

3. นายปรีชา ชนะภัย (เล็ก) (กีต้าร์ , ร้องนำ) 4. นายเทียรี่ เมฆวัฒนา (รี่) (กีต้าร์ , ร้องนำ)

5. นายธนิศร์ ศรีกลิ่นดี (อาจารย์) (คียบอร์ด, เครื่องเป่า) 6. นายอำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า) (กลอง)

7. นายอนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด) (เบส) 7. นายไพรัช เพิ่มฉลาด (รัช) (เบส)

สมาชิกคาราบาว (ยุคปัจจุบันเพิ่มเติม) พ.ศ.๒๕๓๔-พ.ศ.๒๕๔๘

8. นายลือชัย งามสม (ดุก) (คีย์บอร์ด) 9. นายขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ (หมี) (กีต้าร์)

10. นายชูชาติ หนูด้วง (โก้) (กลองมือ1) 11. นายศยาพร สิงห์ทอง (น้อง) (เพอคัสชั่น)

12. นายเทพผจญ พันธพงษ์ไทย (อ้วน) (กลองมือ 2)

วณิพก (พ.ศ. 2526)

วณิพก
ถึกควายทุย
หรอย
ไม้ไผ่
ดอกจาน
บวชหน้าไฟ
SUMMER HILL
หัวลำโพง
จับกัง
ล้อเกวียน

ท.ทหารอดทน (พ.ศ. 2526)

คาราบาว4-ท.ทหารอดทน

ท.ทหารอดทน
ทินเนอร์
ผู้เฒ่า
ขี้เมาใจดี
สวรรค์บ้านนา
ตุ๊กตา
คนเก็บฟืน
เวลา
คนนิรนาม
กลิ่นรวงทอง

มด อิน ไทยแลนด์ (พ.ศ. 2527)

เมดอินไทยแลนด์
มหาลัย
ลูกหิน
ลูกแก้ว
หำเทียม
สองเฒ่าผู้ยิ่งใหญ่
ราชาเงินผ่อน
นางงามตู้กระจก
เรฟูจี
บัวลอย (ถึงควายทุย ภาค 5)

อเมริโกย (พ.ศ. 2528)

อเมริโกย
มะโหนก (ถึกควายทุย ภาค 6) มะโหนกเป็นทหารม้า ม.พัน 4
คนจนผู้ยิ่งใหญ่
มาลัย
ข่าวดี
ตางขโมย
ซาอุดร
หำเฮี้ยน
เฒ่าทะเล
แผ่นดิน

ประชาธิปไตย (พ.ศ. 2529)

ตาตี๋
ประชาธิปไตย
ผู้ทน
เจ้าตาก
พ่อ
ถึงควายทุย ภาค 7
วันเด็ก
มหาจำลอง รุ่น 7
มรดกเฮงซวย
ค. ควาย ค. คน

เวลคัม ทู ไทยแลนด์ (พ.ศ. 2530)

Welcome to Thailand
บิ๊กเสี่ยว
สบายกว่า
กระถางดอกไม้ให้คุณ

เทวดาถ้าจะแน่
สังกะสี
นีออน
คนหนังเหนียว
บาปบริสุทธิ์
ถึกควายทุย 8

ทับหลัง (พ.ศ. 2531)

อัลบั้ม ทับหลัง

ทับหลัง
รักทรหด
ลูกบ้างเน้อ
มิสชาวนา
แม่สาย
ปาณาฯ
หนุ่มสุพรรณ
พระอภัยมุณี
ถึกควายทุย 9
นิค
น้า

คาราบาว – รวมเพลงมึน

คาราบาว – รวมเพลงมัน

คาราบาว – รวมเพลงกินใจ

รวมเพลง คาราบาว

บันทึกการแสดงสด
หัวควาย ปากหมา ประสาเพลง

สัญญาหน้าฝน

คาราบาว คอนเสิร์ต รับใช้ชาตื

วงคาราบาว ในคอนเสิร์ต รับใช้ชาติ

ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ (ปู) เกิดวันพฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2510

พื้นเพเป็นคนจังหวัดหนองคาย ต่อมาไปเรียนที่ขอนแก่น โรงเรียนเทคโนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียนได้ปีเดียว ก็เปลี่ยนไปเรียนเทคโนไทย- เยอรมัน จากนั้นเดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ ด้วยความมุ่งหวัง ที่จะเป็นนักดนตรี บนถนนสายดนตรี เขาทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเพียรพยายาม …

” ผมมาจากบ้าน หอบเอาเพลงเหล่านี้มาเสนอหลายที่ แต่ไม่มีใครสนใจ มันท้อเหลือเกิน ไม่มีเงินจะอยู่จะกิน ได้รับความช่วยเหลือจากพี่ซู พุทธชาติ บ้าง ช่วงหลังได้รับใช้คาราวานบ้าง
เก็บเกี่ยวประสบการณ์ได้มากมาย จนมาเจอคาราบาว เทปชุดนี้ถึงได้มีขึ้นเพลงหลายเพลงในนี้ เขียนจากประสบการณ์สั้น ๆ ไม่กี่เดือนที่มีค่ามากจนไม่รู้ว่าเวลาเขียนเพลงชั่วโมง สองชั่วโมง
จะบรรยายภาพของมันได้หมดหรือเปล่า … “

ที่มา : หนังสือหนึ่งทศวรรษ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ คอนเสิร์ตอะคุสติก

ผลงานเพลง
อัลบัม : มาตามสัญญา
#ชื่อเพลง
1.หวัง
2.ไถ่เธอคืนมา
3.สุดใจ
4.นักแสวงหา
5.ยอดชาย
6.หาย
7.มาตามสัญญา
8.เสมอ
9.พ่อเป็นกรรมกร
10.กลับจากเมือง
11.รักบอด
อัลบัม : บันทึกการเดินทาง
#ชื่อเพลง
1.เธอ…ผู้เสียสละ
2.คิดถึง
3.อยู่คนเดียว
4.โรงเรียนของหนู
5.ขอคืนมา
6.ผีโรงเย็น
7.ไทรโศก
8.ถึงเพื่อน
9.แม่
10.สัตว์รักสัตว์
อัลบัม : เสื้อตัวที่ 11
#ชื่อเพลง
1.ทองดี ทองเค
2.เสือ 11 ตัว
3.แรงยังมี
4.คืนเปลี่ยว
5.ช่างมันฉันไม่แคร์
6.ตลอดเวลา
7.อยู่บนดิน
8.ถามยาย
9.งง
10.เหงา
อัลบัม : ถึงเพื่อน
#ชื่อเพลง
1.ลูกอีสาน
2.ถึงเพื่อน
3.สู้
4.ถนน
5.นกเสรี
6.เรียนและงาน
7.มะเร็ง
8.พเนจร
9.ลิง
10.ฝัน

เศก ศักดิ์สิทธิ์

เศก ศักดิ์สิทธิ์ (ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง)

เศก ศักดิ์สิทธิ์

……….เป็นคนหนองคาย เข้ามาเรียนหนังสือในเมืองหลวงตั้งแต่ปี 2512 เป็นเด็กวัดอยู่หลายปี เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม 2516 ตอนนั้นเรียนที่วิทยาลัยครูสวนสุนันทาปี 1 ไปดูคาราวาน ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดแรงบันดาลใจที่อยากเล่นดนตรีในลักษณะนี้บ้าง ต่อมาจึงร่วมกับเพื่อนนักศึกษาวิทยาลัยครู ที่เด่น ๆ ก็มี ลิขิต บุญปลิว , ศรัทธา หนูแก้ว ตั้งวงชื่อ “คุรุชน” บทเพลงที่คุ้นหูคือ เธอผู้เสียสละ , คุรุธรรม , ภราดร , สงครามหรือสันติภาพ

……….เคยถูกกลุ่มกระทิงแดงรุมซ้อมอย่างทารุณบนรถเมล์สาย 65 จนกรามอักเสบมาจนทุกวันนี้ เพราะบังเอิญพวกนั้นเกิดจำได้ว่าเศกเป็นนักดนตรีวงคุรุชน

……….เช้ามืด 6 ต.ค.2519 หนีเสียงปืนที่ดังสนั่นหวั่นไหวที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่ายน้ำลอยคอตามแม่น้ำเจ้าพระยา จนขึ้นฝั่งบริเวณวัดมหาธาตุ ตชด.ไล่ให้วิ่งหนีไป คืนนั้นจึงนั่งรถทัวร์ไปจังหวัดอุบลราชธานี ไปทางเขตอำเภอนาจะหลวย เข้าป่าในนาม “สหายบุญ” ตั้งวงดนตรี “ที่มั่นแดง” เป็นการรวมระหว่างวงกรรมาชน และ วงคุรุชน ต่อมาพบรักกับอดีตนักศึกษาสาวจากรามคำแหง ที่มารับหน้าที่เป็นครูสอนการเมืองการทหาร ในนาม “สหายน้ำฝน” จนต้นปี 2536 ภรรยาตั้งท้อง จึงจากป่าสู่เมือง ตั้งวงดาวบูรพา เสนอค่ายเทป ไม่มีใครยอมรับต้องไปเป็นยามรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ที่โรงเรียนสอนภาษอังกฤษแถวราชดำเนิน , แนะนำวิธีเลี้ยงเด็กอ่อนแกชาวบ้านแถวคลองเตย , เป็นผู้จัดการมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม รู้จักกับอิศรา อนันตทัศน์ (สีเผือก คนด่านเกวียน) มอบเพลง “เด็กปั๊ม” ให้ ขายดีอย่างไม่มีใครคาดคิด ต่อมาเป็นผู้จัดการวงซูซู ปัจจุบันเป็นโปรดิวเซอร์ให้ศิลปินหลายคน

……….ผลงานเพลง เพลงเด็กปั๊ม (คนด่านเกวียน) , “สาวรำวง” (กะท้อน) , สิงห์รายวัน (มงคล อุทก) งานเดี่ยวของตัวเอง“เจ้าดอกทิชชู่” , “เจ้าขวัญใจ” , “คนเฉียงเหนือ”

……….โปรดิวเซอร์ เด่นชัย สายสุพรรณ ( 3 ชุด) , ดาว มยุรี (ชุดอกหักดีกว่า) ,

……….กษาปณ์ จำปาดิบ (ชุด บุเรงนองลั่นกลองรบ) , ทอม ดันดี (ชุดจังหวะไทย 1 , 3 และ เพลงดังอาจารย์ดี)

 

 

สำนักพิมพ์ พลอยตะวัน (คัดย่อ โดย นายชีวิต)

คัดย่อจากหนังสือ “ตำนานคน ตำนานเพลง” ของ ชูเกียรติ ฉาไธสง

ปฐมบทของบทเพลงเพื่อชีวิต

ปฐมบทของบทเพลงเพื่อชีวิต

ความในใจ

เพลงเพื่อชีวิตเริ่มต้นจากยุคสมัยใด? คือคำถามที่ชวนให้สงสัยและน่าค้นหาคำตอบ

ก่อนนั้นเราเคยเชื่อกันว่า ครูคำรณ สัมบุณณานนท์ คือต้นแบบของเพลงเพื่อชีวิต บทเพลงเกือบทั้งหมดของครูคำรณ มีเนื้อหาสะท้อนภาพชีวิตของผู้ทุกข์ยาก สะท้อนภาพสังคม – การเมือง บทเพลงเหล่านี้ล้วนมีหลักฐานบันทึกเพื่อเป็นสิ่งยืนยันของความเป็นต้นแบบเพลงเพื่อชีวิต

แต่ทว่า….

ปลายตุลา 2540 ได้มีผู้เสนอสารคดีเชิงประวัติศาสตร์ “ปฐมบทเพลงลูกทุ่งและเพลงเพื่อชีวิตไทย พ.ศ. 2480 – 2500” ยืนยันว่าก่อนยุคสมัยครูคำรณ ยังมีเอกบุรุษอีกท่านหนึ่งนาม “แสงนภา บุญราศรี” คือผู้พลิกประวัติศาสตร์วงการเพลงไทยยุคหลังการเปลี่ยนแปลง 2475 ด้วยการหยิบยกเรื่องราวชีวิตของผู้ทุกข์ยากของสังคมมาตีแผ่เป็นบทเพลง แต่น่าเสียดายที่บทเพลง “สารคดีชีวิตผู้ทุกข์ทน” ของเขาเกือบทุกเพลงมีความยาว 4 นาทีขึ้นไป ซึ่งไม่สามารถบันทึกลงแผ่นเสียงชนิด “แผ่นครั่ง” ได้ เหตุนี้ทำให้ชื่อและงานเพลงของแสงนภา ไม่ได้รับการกล่าวขาน…จากหลักฐานของหนังสือและจากปากคำบอกเล่าของคนร่วมสมัย แสงสภาต่างยืนยันว่าครู คำรณ สัมบุณณานนท์ ได้ยึดถือเอาแสงนภา เป็นแบบอย่าง

กระทั่งวันนี้ชีวิตและผลงานเพลงของ แสงนภาถูกค้นคว้า และเผยออกมา เมื่อกาลเวลาล่วงเลยมาเนิ่นกว่ากึ่งศตวรรณ

เพลงเพื่อชีวิตเริ่มจากยุคสมัยใด…คำตอบจะเริ่มแจ่มชัด

แต่ทว่า…

วันแห่งชัยของประชาชน 14 ตุลา 16 ได้กำเนิดวงดนตรีเพื่อชีวิตวงแรกของไทย คือ “คาราวาน” สร้างผลงานเพื่อประชาชนจนได้รับการกล่าวขานว่า “คือ..ต้นธานดนตรีเพื่อชีวิต” สรรค์สร้างบทเพลงจากอารมณ์ที่สะเทือนใจ จากการได้ออกไปสัมผัสความจริงในชนบท และเป็นต้นแบบให้กับวงดนตรีเพื่อชีวิตในยุคต่อมา

เช่นนี้แล้ว เพลงเพื่อชีวิตควรจะเริ่มจากยุคสมัยใดกันแน่!

เป็นคำถามที่ชวนให้ศึกษาและค้นคว้าอย่างยิ่ง

แต่….

ไม่ว่าเพลงเพื่อชีวิตจะก่อกำเนิดในยุคสมัยใด ณ วันนี้บทเพลงเพื่อชีวิตได้เดินทางผ่านเส้นทางแห่งกาลเวลาที่ยาวนาน ยังคงขับขานและเป็นบทบันทึกประวัติศาสตร์ – เศรษฐกิจ – การเมือง หน้าสำคัญของสังคมไทย

ศรัทธาและเชื่อมั่น

กลุ่มศิลปวัฒนธรรมเพื่อชีวิต

10 ตุลาคม 2541