พรานบูรพ์ ศิลปินของประชาชน

พรานบูรพ์ ศิลปินของประชาชน

เขียนโดย สันติเทพ ศิลปบรรเลง

เราท่านทุกคนย่อมเคยได้ยินได้ฟังเพลงไทยเดิม และเพลงไทยสากลกันอยู่เป็นประจํา ซึ่งย่อมมีรสนิยมแตกต่างกันไปตามความพอใจ บางท่านก็ชอบฟังเพลงไทยเดิมหรือมโหรี เพราะ นุ่มนวลแช่มช้อยแบบไทยแท้บ้างก็ชอบเพลงไทยสากลซึ่งฟังง่ายเข้าใจง่ายและรวดเร็วทันอกทันใจ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า เพลงไทยสากลที่ร้อง-เล่นกันอยู่ทุกวันนี้ล้วนแต่เป็นพัฒนาการอันเป็น ผลพวงมาจากเพลงไทยเดิมทั้งสิ้น แม้ว่าบางเพลงที่น่ามาดัดแปลงแต่งเติมขึ้นใหม่ ก็มักจะมีทํานองหลักมาจากเพลงไทยเดิมนั่นเอง ผู้แต่งก็ดัดแปลงให้เป็นทํานองฝรั่งมีจังหวะต่าง ๆ กัน ให้ดูแปลกออกไป ใส่เนื้อเรื่องให้ทันสมัย จึงพลิกกลับกลายมาเป็นเพลงไทยสากล

แต่ท่านนักนิยมเพลงทั้งหลายท่านพอจะทราบบ้างหรือไม่ว่า ใครเป็นผู้ริเริ่มทําเพลง จากเพลิงไทยเดิมให้มาเป็นเพลงไทยสากล? ใครเป็นผู้บุกเบิกแนวการบรรเลงดนตรี และทํานองเพลงในเมืองไทยให้เป็นสากลนิยมมากขึ้น? ใครเป็นผู้เผยแพร่ศิลปการละคร ที่เรียกว่า “ละครร้อง” แบบสมัยใหม่ โดยผู้แสดงเป็นผู้ร้องเพลงไทยสากลทั้งสิ้น

คําตอบก็คือบุคคลท่านหนึ่งซึ่งเป็นศิลปินอมตะของชาติไทยผู้ใช้นามแฝงว่า “พรานบูรพ์

พรานบูรพ์

พรานบูรพ์ ได้รับยกย่องว่าเป็น “ปรมาจารย์ทางเพลงไทยสากล” และเป็น “บรมครู ละครร้อง” ของไทยผู้ได้สร้างผลงานละครและเพลงอันเป็นอมตะมากมายสืบต่อมาเป็นมรดกของ ชาติจนทุกวันนี้

ในที่นี้จะขออธิบายชีวประวัติและผลงานสําคัญของ “พรานบูรพ์” ให้ประจักษ์แก่ท่าน ดังนี้

“พรานบูรพ์ นามจริงคือ จวงจันทร์ จันทร์คณา เกิตที่อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2444 เป็นบุตรของ หลวงราชสมบัติ และนางสร้อยมารดา บิดารับราชการโยกย้ายไปหลายจังหวัดจึงได้เรียนหนังสือตามจังหวัดที่บิดาย้ายไปประจําอยู่ จนอายุ 11 ปี จึงเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนจบชั้นมัธยมปีที่ 2 แล้วสอบเข้าศึกษาต่อคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเป็นนิสิตจุฬาฯ บิดาถึงแก่กรรมจึงขาดผู้อุปการะส่งเสียให้เล่าเรียนจึงต้องออกจากมหาวิทยาลัย เพื่อหางานทําประกอบอาชีพ

นายจวงจันทร์ จันทร์คณา ในวัยรุ่นหนุ่มเป็นผู้มีใจรักทางดนตรีและเพลงเป็นชีวิตจิตใจ ในระยะนั้นเป็นต้นสมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีแต่ดนตรีไทยเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะได้ฟังได้เล่น ท่านจึงฟังเสียงดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็กและรู้สึกจับใจเข้าถึงรสของตนตรีไทยอันจะเป็นพื้นฐานสําคัญที่ บันดาลใจให้ท่านผู้นี้มีความคิดแปลกแยกไปในเรื่องของเพลงต่อมา

ท่านได้เล่นดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็ก โดยสีซอด้วง, ซออู้ เป่าขลุ่ยและสีซอ ไวโอลิน ตลอดจนร้องเพลงได้ดีมาตั้งแต่เป็นนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นอกจากนี้ยังสนใจในกีฬาฟุตบอลเป็นอันมากได้เคยเป็นนักฟุตบอลของโรงเรียนอีกด้วย นอกจากในสมัยระยะวัยรุ่นของท่านประมาณ ปี พ.ศ. 2455 จนถึง พ.ศ. 2472 เป็นระยะที่ละครเวที่กําลังเฟื่องฟูมาก เพราะเป็นการบันเทิงในรูปแบบเดียวที่จะแสดงแก่ประชาชนได้ สมัยนั้นไม่มีภาพยนตร์หรือโทรทัศน์และวิดีโอเทปเหมือนปัจจุบันนี้ จึงมีแต่การแสดงละครเพียงอย่างเดียวที่เป็นเครื่องบันเทิงเริงรมย์แก่ประชาชน

เมื่อนายจวงจันทร์ จันทร์คณา ได้ออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างที่ยังเรียนไม่จบ ด้วยใจรักดนตรี และละครจึงมารับจ้างบอกบทละครตามโรงละครต่าง ๆ แล้วในที่สุดก็แต่งบทละครด้วยตนเองพร้อมทั้งแต่งเพลงประกอบละคร จนกลายเป็นนักประพันธ์บทและเพลงละครร้องที่มีชื่อเสียงโต่งดังในระยะต่อมา

ในยุคนั้นละครร้องที่เป็นที่นิยมชมชอบกันมากก็คือ ละครของกรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ และละครพันทางกับละครพูดสลับ (ลํานําหรือเพลง) ซึ่งล้วนแต่ใช้เพลงไทยของเก่าบรรเลง และขับร้องโดยผู้แสดงเป็นผู้ร้องเองทั้งสิ้น การที่ได้อยู่กับโรงละครร้องจึงทําให้ท่านได้ซึมซับ รับเอาบทร้องและทํานองเพลงไทยของเก่าหรือที่เรียกว่า “เพลงไทยเดิม” ได้อย่างมากมาย จนรู้จักและจดจําเพลงต่าง ๆ ได้เป็นอันมาก ถึงกับรอบรู้ในเรื่องเพลงไทยและบทละครอย่างหาตัวจับยาก

ประสบการณ์ในโรงละครนี่แหละ เป็นข้อมูลพื้นฐานอันสําคัญยิ่งที่ทําให้ท่านผู้นี้สามารถนําทํานองเพลงของเก่ามาใช้ ในการขับร้องบทเพลงในละครของท่านได้อย่างแนบเนียนเป็นอย่างดี

เมื่อท่านได้แต่งบทละครและบทเพลงได้ด้วยตนเองแล้วก็จะนําออกแสดง ละคร เรื่องแรกของท่านคือเรื่อง “ทะแกล้วสามเกลอ” เมื่อออกแสดงแล้วปรากฏว่าได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้เข้าชมเป็นอันมาก ละครเรื่องนี้ท่านแต่งขึ้นเมื่อยังไม่ได้คิดนามปากกาหรือนามแฝงจึงชื่อชื่อ-นามสกุลจริงไปก่อน

ละครเรื่องต่อมาคือเรื่อง “เหยี่ยวทะเล” ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ท่านคิดใช้นามปากกา “พรานบูรพ์” เป็นผู้ประพันธ์ สาเหตุที่ใช้นามปากกานี้นั้นเนื่องมาจากใต้พบ คําประพันธ์ จากวรรณกรรมเรื่อง”รูไบยาต” ของโอมาร์คัยยาม แปลโดย กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ ทรงแปลไว้ว่า

“ตื่นเถิด อุทัยเจิดเล้า     รัตยา ผยองเอย

        ดาวเจิ่ง, เวิ้งสวรรค์ลา   ลิบแล้ว

พรานบูรพ์, ทอดบ่วงถา โถมคร่อม คล้องแฮ

ปราสาท, สุลต่านแพร้ว  พรีอสร้านฉานแสง”

คําว่า “พรานบูรพ์” จึงมีความหมายว่า พรานแห่งทิศบูรพาผู้นําให้ชีวิตทุกชีวิตบนโลกให้ล่วงไปกับวันใหม่และกาลเวลาซึ่งก็หมายถึง พระอาทิตย์นั่นเอง

ท่านได้แต่งบทละครออกมาอีกหลายเรื่อง และแต่งให้แก่คณะศรีโอภาสเป็น ประจํายังไม่มีคณะละครของตนเอง จนกระทั่งถึง .ศ. 2474-2476 จึงได้ตั้งคณะละครของตนเองขึ้นมาและตั้งชื่อคณะว่า “คณะจันทโรภาส” รายการคณะจันทโรภาส ภายใต้การกํากับควบคุมของพรานบูรพ์เป็นคณะละครที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคนั้น ได้สร้างผลงานการแสดงละครออกมามากมายหลายต่อหลายเรื่องซึ่งเป็น ที่ชื่นชอบแก่ประชาชนคนดูเป็นอันมาก แสดงครั้งใดก็มีผู้เข้าชมแน่นโรงทุกวันทุกรอบ จนชื่อของ พรานบูรพ์” และชื่อ “คณะจันทโรภาส” เป็นที่ติดปากติดใจคนไทยทั่วไป ละครที่ได้รับความนิยมมากได้แก่ เรื่อง “โรสิตา” พรานบูรพ์ ตัดแปลงจากบทละครของตะวันตกให้เข้ากับ รสนิยมคนไทย เรื่อง “แผลเก่า” ท่านได้นําเอานวนิยายเรื่องแรกของไม้ เมืองเดิม มาจัดแสดงเป็นละคร ซึ่งเป็นที่ฮือฮา เกรียวกราวชื่นชอบไปทั่วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงประกอบ ที่ร้องในละครเป็นเพลงที่พรานบูรพ์แต่งทํานองและเนื้อร้องด้วยตนเองทั้งหมดทุกเพลิง ซึ่งเพลิง ที่ติดอกติดใจและไพเราะจับใจจนจตจํารําลึกและร้องกันต่อมาจนทุกวันนี้ก็คือเพลง “ขวัญเรียม” ที่มีบทร้องขึ้นต้นว่า.

“เรียมเหลือทนแล้วนั่น…ขวัญของเรียม”

ผลงานการแสดงละครของคณะจันทโรภาส ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมสูงที่สุด คือ เรื่อง “จันทร์เจ้าขา” ละครเรื่องนี้ทําให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังไปทั่วประเทศ นับว่าเป็นผลงานของท่านที่ประสบความสําเร็จยิ่งใหญ่ในชีวิตของศิลปินท่านนี้

 

ละครเรื่อง “จันทร์เจ้าขา” เป็นละครเรื่องเอกที่สุดในชีวิตของท่าน เปิดแสดง เป็นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2474 ที่โรงละครพัฒนาการ ใกล้สามแยกกรุงเทพมหานคร และ เปิดแสดงตลอดทั้งปี โดยเว้นช่วงแสดงเป็นระยะจนตลอดปี และก็น่าแปลกตรงที่มีผู้เข้าชมแน่น โรงทุกรอบที่เปิดแสดงนับว่าเป็นความสําเร็จอันสูงสุด และเป็นข้อยืนยันได้ว่า พรานบูรณ์เป็น ศิลปินที่ชนะใจคนไทยในยุคนั้น

ท่านได้นําคณะละคร “จันทโรภาส” ออกเร่ แสดงไปตามที่ต่าง ๆ ในหลาย จังหวัดเกือบทั่วประเทศจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปถึงในชนบทห่างไกล ประชาชนคนไทยได้รับ ความบันเทิงจากละครคณะนี้เป็นอันมาก จนกระทั่งพรานบูรพ์ ได้รับฉายาว่าเป็น “ศิลปินของประชาชน” ซึ่งท่านก็ได้สร้างผลงานด้านละครและเพลงเพื่อบ้ารุงบําเรอความสุขแก่ประชาชน อย่างแท้จริง

การประพันธ์เพลงในละครร้องของพรานบูรพ์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท กล่าวคือ

ประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ เพลงที่ได้ทํานองมาจากเพลงไทยแท้ของเก่า (เพลงไทยเดิม) แล้วนํามาตัดตอนให้สั้นลง หรือมาเปลี่ยนแปลงวิธีการขับร้องเสียใหม่ คือ ร้องเป็นเนื้อเต็มโดย ตัดเอื้อนยาว ๆ ออกไปทั้งหมดใช้วิธีเอื้อนสั้น ๆ โดยใช้เสียงจากลูกคอเท่านั้น เช่นเพลิงดวงเดือน

ลาวเจริญศรี ลาวคําหอม และเมื่อเป็นเพลงที่ตัดแล้วก็จะมีคําว่า “ตัด” ต่อท้ายชื่อเพลง เช่น สร้อยสนตัด, ทะแยตัด ส่วนเพลงที่นํามาแปลงให้เปลี่ยนออกไปก็ใช้คําว่า “แปลง” ต่อท้ายชื่อเพลง เช่น สุรินทร์แปลงดัดแปลงมาจากเพลงสุรินทราหู เป็นต้น

ประเภทที่สอง ได้แก่ เพลงที่น่าทํานองมากจากเพลงสากลของฝรั่ง หรือเพลงทํานอง ฝรั่งต่าง ๆ เช่นเพลงมาเดอร็อง ก็นําเพลงมาร์ชมาเดอร็อง มาใส่คําร้องภาษาไทยลงไปให้เป็นไทยมากขึ้นเป็นต้น

ประเภทที่สาม เป็นเพลงที่พรานบูรพ์ประพันธ์ขึ้นมาเองจากความคิดคํานึงในท้องเรื่อง ของละครนั้น ๆ เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่โดยลําพัง และไม่ได้ยึดถือทํานองเพลงหนึ่งเพลงใดทั้งสิ้น แต่จะมีลีลาอ่อนโยนเยือกเย็นเป็นบรรยากาศแบบไทย เช่น เพลงขวัญเรียม, เพลงเคียงเรียม, เพลงจันทร์เจ้าขา, เพลงนัดพบ, และเพลงกล้วยไม้ เป็นต้น

การใส่เพลงในบทละคร พรานบูรพ์ยังคงยึดหลักของกรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ คือ จัดเพลิงสลับกับบทพูด และหากตัดบทพูดออกไปเรื่องจะไม่ต่อกัน บทพูดและบทร้องเขียนเป็น กลอนสุภาพทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีเพลงบรรเลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงแทรกระหว่างฉากที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “พรีลูท” หรือ “อินเตอร์ลูท” อีกด้วย นับว่าเป็นการนําเทคนิคของฝรั่งมาประยุกต์ ใช้ได้อย่างเหมาะสมและเป็นที่นิยมของผู้ชม

ละครบางเรื่องพรานบูรพ์จะแทรกบทร้องพิเศษที่เหมือนบทสวด และแต่งคําร้อง เป็นร่ายสุภาพบ้าง ร่ายยาวบ้าง บางตอนจะคล้ายรูปแบบของโคลงสองหรือโครงสามแสดงว่า ท่านมีความรู้ในทางกวีนิพนธ์และฉันทลักษณ์แตกฉานเป็นอย่างดี

บทร้องที่พรานบูรพ์ประพันธ์ขึ้นนั้นได้เป็นรูปแบบ หรือแบบแผนของเพลงไทยสากลใน ยุคต่อ ๆ มาถือว่าเป็นเพลง “ชั้นครู” ของเพลงไทยสากลก็ว่าได้ และยังมีอิทธิพลต่อการใช้ถ้อย คําสํานวนสอดไส้ในทํานองเพลงให้มีบรรยากาศมาพพจนี้จีนตนาการ มีความละเอียด ละเมียด ละไมลึกซึ้งตรึงใจผู้ฟัง เพราะเหตุว่าท่านใช้การประพันธ์ถ้อยคําสัมผัสนอกสัมผัสในสัมผัสเสียง สระข้ามวรรคได้อย่างแพรวพราย นับว่าบทร้องของพรานบูรพ์ เป็นร้อยกรองหรือกวีนิพนธ์ที่ ทรงคุณค่าทางภาษาไทยอีกด้วย

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการใช้ถ้อยคําเพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพพจน์เช่นในเพลง “กล้วยไม้ ความว่า

“กล้วยไม้ของเราแต่เก่าก่อน อยู่ในดงในดอนเจ้าช่อนซ่อซ่อนใบ..ไกลไกล ฝั่งเจ้าอยู่ถึงไหนไหน ใครจะเด็ดจะดมได้เราไม่เห็นเลย.โอ้กล้วยไม้เอย”

จะเห็นได้ว่าท่านเข้าใจเลือกคํามาใช้ในเพลงได้อย่างเหมาะสมและมีความไพเราะ ลึกซึ้งกินใจ ให้แต่เท่านั้น ถ้อยคําสํานวนของท่านได้รับยกย่องว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่ถูกต้องตามหลัก ภาษาและไวยากรณ์ไทยอีกด้วย

ในสมัยที่ภาพยนตร์เริ่มเข้ามาสู่เมืองไทยใหม่ ๆ นั้น โรงภาพยนตร์เสียงศรีกรุงไต้สร้าง ภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์มขึ้นเป็นครั้งแรก พรานบูรพ์ ได้ร่วมมือกับครูนารถ ถาวรบุตร แต่งเพลงในภาพยนตร์เรื่อง “ในสวนรัก” เรื่อง “อ้ายค่อม” เรื่อง “ค่ายบางระจัน” เป็นต้น ต่อมาบริษัทบูรพาศิลปภาพยนตร์ จํากัดสร้างภาพยนตร์ขึ้น ท่านได้แต่งเพลงประกอบไว้มากมาย เช่น เพลงสนมในใจ สามหัวใจ โดยเป็นคนเขียนบทร้องแล้วให้ครูนารถ ถาวรบุตร แต่งทํานอง

ซึ่งจะได้ทํานองเป็นฝรั่งมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากครูนารถ ถาวรบุตร เป็นนักดนตรีสากลโดยแท้ เป็นนักเปียโนฝีมือเยี่ยมเป็นเลิศในยุคนั้น และได้เรียนเปียโนจาก พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) บรมครูดนตรีสากลท่านหนึ่งของเมืองไทย

นอกจากท่านจะเป็นผู้มีความสามารถสูงส่งแล้ว ถ้าหากขาดผู้ช่วยเหลือหรือเป็น ที่ปรึกษาแนะนําที่ดี ก็อาจจะไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสําเร็จเท่าที่ควร ในงานการละครของ พรานบูรพ์นั้น บุคคลผู้มีส่วนสําคัญในอันที่จะผลักดันให้พรานบูรพ์และคณะละครดําเนินการไปได้ ดี คือ ครูพิมพ์ พวงนาค มิตรผู้มีอุปการะของพรานบูรพ์ ผู้เคยร่วมเดินทางร่วมกันนอนมากับ คณะละครจันทโรภาสมาแต่ต้น เป็นผู้ให้กําลังใจให้คําปรึกษาและจัดการงานทุกอย่างไปใต้ด้วยดี ท่านรําลึกถึงคุณความดีของครูพิมพ์ พวงนาค ประดุจผู้มีพระคุณท่านหนึ่งเสมอมาจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต

ท่านได้แต่งเพลงและแสดงละครไปตลอดทั่วทุกภูมิภาคเป็นเวลานานหลายสิบปี บทละครต่าง ๆ ก็กระจัดกระจายหายสูญไปมากอย่างน่าเสียดาย เพราะไม่ค่อยจัดเก็บหรือรวบรวมบันทึกเป็นหลักฐานไว้ อย่างฝรั่งนั้นมักนิยมรวมผลงานไว้และบันทึกเป็นหลักฐานอย่างรัดกุม แต่สําหรับพรานบูรพ์แล้ว ละครที่เล่นนั้นเมื่อเล่นจบหรือเลิกแสดงละครเรื่องนั้นแล้วก็เลิกกัน ไม่มีใครคิดเก็บรวบรวมบันทึกเป็นหลักฐานไว้จึงกระจัดกระจายหายสูญไปมากต่อมาอย่างน่าเสียดาย ที่ยังคงอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นผลงานยอดนิยมของประชาชนเท่านั้น ซึ่งมีอยู่ไม่ก็เสียงและเพลงไม่กี่เพลง

ในบรรดาบทละครและเพลงของท่านนับร้อย ๆ เรื่อง ร้อย ๆ เพลงนั้น ต้นฉบับ ที่พอจะหาได้และเก็บรักษาไว้ ได้อยู่ที่ครู พิมพ์ พวงนาค เพียง 10 กว่าเรื่องเท่านั้น

เรื่องละครร้องขณะนี้กําลังจะค่อย ๆ สูญสลายไปทีละน้อยอย่างน่าเสียดายเพราะ อิทธิพลของการบันเทิงในรูปแบบอื่นเข้ามาแทรกเซาะเป็นอันมากอีกทั้งความเจริญทางตะวันตกก็ หลั่งไหลเข้ามาจนคนไทยแวบจะลืมความเป็นไทยกันอยู่แล้ว ปัจจุบันนี้คนเราไม่มีเวลาพอที่จะ มาดูละครร้องเหมือนเช่นในอดีต เพราะทางธุรกิจการงานเร่งรัดจึงทําให้สุนทรียภาพของคนในปัจจุบันเหลือน้อยลงทุกที่ ด้วยเหตุนี้ความนิยมในละครร้องของเก่าจึงหมดความนิยมลงไป อีกทั้งดาราละครรุ่นเก่าที่เคยรู้เรื่องก็ถึงแก่กรรมไปทีละคนสองคนจนเกือบจะหมดสิ้นแล้ว เรื่องราวของตัวละครร้องที่เด่นดัง เช่น แม่บุนนาค แม่เลื่อน ตลอดจนพรานบูรพ์เอง รวมทั้งผลงานของท่านเหล่านี้ก็ไม่ได้มีการรวบรวมไว้เป็นหลักเป็นฐานจึงกระจัดกระจายไปเป็นอันมาก เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง

ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานเพลิงและละครมากมายเหลือคณานับ ในส่วนที่หลงเหลือจตจํากันได้ก็นับว่ามากแล้ว แต่ส่วนที่สูญหายไปจะมีอีกสักเท่าไรไม่มีผู้ใดทราบได้ เพราะไม่มีผู้รวบรวมไว้เลยดังที่กล่าวแล้ว แต่ในส่วนที่ยังเหลืออยู่นี่แหละ ศิลปินทั้งหลายยึดถือว่าเป็นผลงานศิลปะชั้นครู ที่มิอาจลอกเลียนเปลี่ยนแปลงให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ท่านได้ทําไว้ เป็นอมตะแล้ว

ท่านได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่กับละครและเพลง ร่อนเร่พเนจรแสดงไปในทั่วทุกท้องถิ่น ได้เงินค่าแสดงพอเลี้ยงชีพกับคณะละครให้อยู่รอดไปได้ ชีวิตของท่านจึงดูคล้ายวณิพกผู้พเนจร เที่ยวแสดงละครร้องของท่านไปทั่วทุกหัวระแหง ท่านเป็นผู้มีความอดทนและตั้งใจประกอบกรรมดีตลอดมา ท่านยึดถือแนวทางศิลปะเป็นที่ตั้ง ถึงแม้ว่าผู้ใดจะให้ค่าตอบแทนอย่างงามโดยให้ท่านทําเพลงในรูปแบบที่ผิดศีลธรรม หรืออาจเป็นผลเสียแก่งานศิลปะและกระทบกระเทือนวงการศิลปินแล้วท่านจะไม่ยอมรับทําเป็นอันขาด

พรานบูรพ์และคณะละครจันทโรภาสได้สร้างงานศิลปการละครฝากไว้แก่ผู้ดู ผู้ชม มาเมื่อสมัย 30-40 ปี ก่อนโน้นจึงถึงระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ยังแสดงอยู่บ้างไม่มากนักจนกระทั่งการบันเทิงอย่างอื่นเข้ามาแทรกแซง เช่น ภาพยนตร์ฝรั่ง, เพลงสากลประเภทแจ๊ส ชาโดว์ ตลอดจนโทรทัศน์ ฯลฯ ทําให้บทบาทของละครเวทีต้อยลงไปอย่างมากและสูญสลายไป กับกาลสมัยไปในที่สุด

สําหรับในชีวิตส่วนตัวนั้น ท่านสมรสกับ คุณศรี นางเอกละครร้องคณะ ราตรีพัฒนาและเป็นมารดาของบุตรชายหญิง 4 คน ได้แก่ นายจารุ นางสาวจุไร นางสาวจามรี และนางสาวจริยา ลูกชายคนโตนั้นถึงแก่กรรมในวัยหนุ่ม นอกจากนี้ท่านยังมีบุตรชายอีกคนหนึ่ง เกิดจากภรรยาชื่อ เทียมน้อย เป็นนักแต่งเพลงไทยสากลผู้มีชื่อเสียงและผลงานดีเด่นเป็นที่รู้จัก กันดี คือ นายจงรักษ์ จันทร์คณา เป็นทายาทผู้รับสายเลือตศิลปินจากบิดาได้มากที่สุต

พรานบูรพ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2517 รวมอายุได้ 74 ปี

แม้ว่าท่านจะจากไปแค่ร่างกาย แต่วิญญาณยังคงอยู่ในบทเพลงบทละครอัน ไพเราะเป็นอมตะจับใจฝากไว้กับประชาชนคนไทยและเป็นมรดกล้ําค่าของชาติไทยไปอีกนาน เท่านาน

รวยรินกลิ่นความหลัง โดย ชาลี อินทรวิจิตร

ทุกอักษร ร้อยกรองมาจากหัวใจ เป็นบทเพลงที่เขียนให้เฉพาะเพื่อน
แง้มหน้าต่างความทรงจำอันรางเลือน เสมือนระฆังบอกโมงยามความเป็นเรา
รวยรินๆ หอมกลิ่นความหลัง ทำให้นึกถึงหรือบางทีอาจจะได้รวมเล่มเป็นที่ระลึก
สำหรับชีวิตของตัวเอง ก่อนที่ใบไม้สีเหลืองกร้านๆใบนี้จะปลิดปลิวไปตามกาลเวลา

ครับ! เพลงนี้ผมเขียนไว้อาลัยคุณ สุนทร สกลวัฒนา หรือที่เราเรียกถนัดปากว่า “ป้อมปราการ” นักเขียนจากที่ราบสูงเป็นคนอีสานโดยกำเนิด สังกัดน.ส.พ.ไทยรัฐ ได้รับความไว้วางใจ จากกกองบรรณาธิการให้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าข่าวบันเทิง ควบคู่กันไปกับตำแหน่งหัวหน้าข่าวกีฬา คือควบคุมดูแลทั้งหน้า 13 และหน้า 15 รับผิดชอบทั้ง 2 หน้า! แบบนี้ไม่ใช่คนธรรมดาหรอกครับผม

สมัยนั้นวงการกีฬาโลก โดยเฉพาะมวย ยักษ์ใหญ่แห่งวงการคือหนังสือ “เดอะริงค์” ของแน็ต แฟร็ทเชอร์ เป็นผู้ทรงอิทธิพลสูงสุด ทุกครั้งที่เขาเหยียบแผ่นดินไทย ท่ามกลางนักข่าว รุมล้อมหน้าล้อมหลังเพื่อหาข่าว แต่คำแรกที่แน็ต แฟร็ทเชอร์ เอ่ยปากสวนคำถามนักข่าวคือ แวร์ อิส มิสเตอร์ป้อม นั้นหมายถึงว่า แน็ต แฟร็ทเชอร์ แกรักคุณสุนทร สกลวัฒนา หรือป้อมปราการของเรา เหมือนลูกชายคนหนึ่งของแก นี่คือความพิเศษของป้อมปราการ

แดดจัดพัดลมแรง อาจทำให้ป้อมปราการกลายเป็นใบไม้ที่หลุดจากขั้วปลิดปลิวไป ภัยมืดของชีวิตเขาคือโรคร้ายที่คอนเบียดเบียนกัดกร่อนร่างกายเขาทุกเวลานาที จนกว่ารถรางสายชีวิตของเขาจะจอดป้ายสุดท้าย เพราะแล่นต่อไปไม่ไหวแล้ว นั้นคือละครปิดฉากชีวิตของเขาก็จบ เปลวไฟในคืนหนาวคงเหลือเพียงเถ้าธุลี
มีอะไรที่โลกให้มาแล้ว ไม่เอากลับคืน

จำได้คืนนั้น รายการชรินทร์โชว์ จัดขึ้นเพื่อไว้อาลัยป้อมปราการโดยเฉพาะ ไม่เจาะจงว่าเป็นใครมาร่วมในรายการ แต่มิตร เพชราและดาราทั่วฟ้าเมืองไทย ต่างคนต่างแต่งชุดขาวดำมาในรายการเพื่อแสดงความรัก และอาลัยป้อมปราการเนืองแน่นสถานีโทรทัศน์

แม้แชมเปี้ยนโลกที่ยิ่งใหญ่อย่าง โผน กิ่งเพ็ชร อภิเดช ศิษย์หิรัญ จอมเตะบางนกแขวก แชมป์มวยไทย ก็ผุดลุกผุดนั่งที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ขาวดำ หน้าสลอน รอออกอากาศร่วมไว้อาลัย และแล้วไฮไลด์ช่วงสุดท้าย คืนนั้นคือเพลง”เพื่อนตาย” ชรินทร์ร้องเพลงนี้ทั้งน้ำตา เพลงเพื่อนตายแตะน้ำตาให้กับชีวิตของประชาชนผู้ฟังและดาราดดยทั่วกัน วันฌาปนกิจศพของเขา ไทยรัฐลงเนื้อเพลงเพื่อนตายในหน้า 13 ขบวนแห่ศพของเขา คุณเชื่อไหมยาวเป็นกิโล หัวขบวนมาถึงวัดสระเกศแล้ว แต่ท้ายขบวนยังอยู่ที่วัดตรีทศเทพ(สมัยนั้นที่วัดตรีทศเทพยังไม่มีเมรุเผาศพ)

ท่าฉลอม เพลงจากบ้านเกิดของ ชาลี อินทรวิจิตร

ลมหัวทะเล พัดฉ่ำระส่ำมาสู่ฝั่ง ตั้งแต่หัวค่ำคืนนั้น พื้นน้ำและระลอกขาวพร่างทะเล ความเย็นชื่นแผ่กระจาย ตั้งแต่หัวบ้านวัดช่องลมมาจนทั่วละแวกบ้านชายทะเลเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ในหัวใจของผมไม่เว้นแม้แต่บริเวณที่ผมยืนอยู่ ก็แล้วทำไมผมต้องมายืนมาเดินบนถนนเหงาๆ ที่มีแสงไฟวอมแวมข้างทางสลัวๆ เงาดำบนพื้นถนนซึ่งทอดยาวขึ้นและดำมืดขึ้นทุกทีทุกทีเมื่อค่อนดึก แต่ไม่ว่าจะนานสักแค่ไหน จะมีรถจักรยานสามล้อผ่านไปผ่านมาสักคันก็ทั้งยาก

นี่หรือบ้านเกิดของผม กี่เดือนกี่ปีก็ทึบทึมอยู่อย่างนี้ คนละแวกบ้านผมทุกคนมุ่งแค่จะทำมาหากิน ไม่มีใครเลยที่จะเสียสละทุ่มเทพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวพักผ่อนตกปลา หรือกินอาหารทะเลสดๆในวันสุดสัปดาห์ ก็ใกล้แค่นี้เอง ใช่ “ท่าฉลอม” ใกล้แค่นี้เอง

“แต่มันไกลหัวใจแกมากใช่ไหมหง่า พี่ไม่เคยเห็นแกแต่งเพลงให้บ้านเราสักเพลงเลย ดีแต่ไปแต่งเพลงให้บ้านอื่นเมืองอื่น ทุ่งรวงทองงี้ แสนแสบงี้ กว๊านพะเยาเอย สาวนครชัยศรีเอย”

ผมทะลุกลางปล้องขึ้นทันที “อ้าวทำไมล่ะ ผมจะแต่งเพลงนี้ให้แฟนผมมั่งไม่ได้เหรอ ศรินทิพย์เขาเป็นสาวนครชัยศรีนะ”

“แล้วท่าฉลอมล่ะ มันเล็กมากใช่ไหม แกถึงแต่งไม่เป็น” พี่สาวผมว่า

“พี่อิจฉาเพลงน่ะซิ” ผมพูดเบาๆเปรยๆไม่ได้ตั้งใจ “ใช่ฉันขี้อิจฉา ก็ยังดีกว่าคนหัวใจป่าช้าหยั่งแก ไม่รู้คุณค่า ไม่รักแผ่นดินถิ่นเกิด เคยทำอะไรให้บ้านเราชื่นใจมั่งหรือเปล่าแกน่ะ”

เจ็บในน้ำคำ จำในใจจ๋อยๆ เห็นจักรยานสามล้อแล่นอ่อยๆอ๋อยๆไป ช่างหัวมัน ผมจะเดินซะอย่าง จะเมียงมองข้างทางให้เห็นแง่เห็นมุมที่จะเอามาเขียนเพลง เสียงพี่สาวยังก้องกังวานอยู่ในความรู้สึกลึกๆในใจผม

“ทำไม ท่าฉลอมมันเล็กมากใช่ไหม แกถึงแต่งไม่เป็น”

บ้านเกิดของผมกี่เดือนกี่ปีก็ยังไม่มีอะไรในกอไผ่ เคยเห็นยังไงก็เป็นยังงั้น ผมเดินจากบ้านมาไกลพอควร ถึงยังไงผมก็จะเดินไปให้สุดถนนที่ปลายสะพาน เรือกำลังจะออกจากท่าพอดี ผมทั้งวิ่งทั้งเดินก็ยังไม่ทัน ต้องหันกลับมานั่งรอ กว่าเรือจะกลับมารับ ก็คงไม่ต่ำกว่าครั้งชั่วโมงมั้ง เพราะกว่าคนจะขึ้นเรือจนเต็มจากฝั่งกระโน้นคงต้องใช้เวลา

ทะเลเป็นของโลก บางวันโศก บางวันเศร้า
ท่าฉลอมเป็นของเรา กำลังเหงาๆ พอดีเจอเฒ่าทะเล

ลุงคนนั้นแกเป็นนายท่าเรือ รูปร่างบึกบึน ผมหงอกจนเป็นสีขาวไปทั้งหัว ผมก็สนทนาปราศรัยไปตามเรื่องตามราว ไม่คิดว่าจะเจอเฒ่าทะเลตัวจริง

“มีเรือลำเดียวหรือครับลุง” ผมถามแก

“มีสองสามลำคุณ แต่กลางคืนมีแค่ลำเดียว” แกตอบ

“ผมต้องรอนานไหมเนี่ย”

“ก็จนกว่าคนจะเต็มเรือนั่นแหละ ถึงจะออกจากฝั่งโน้นมาฝั่งนี้”

“ลุงอยู่ท่าฉลอมมานานแล้วหรือครับ” ผมขยับเข้าไปใกล้แกอีกหน่อย ลุงแกมองผมอย่างไม่แน่ใจว่าผมจะเป็นชายประเภทสองหรือเปล่า เพราะหน้าตาผมก็ดูดี

“ผมเป็นน้องชายพี่สงวน เป็นหลานย่าเรียม ลือประเสริฐครับ” เท่านั้นแหละ ลุงแกก็เปลี่ยนเป็นคนละคนเลย จับเข่าคุยกับผมอย่างเป็นกันเองทันที

“ลุงเป็นชาวเล เรือประมงหาปลาทุกลำ ลุงเคยอยู่ เคยกิน เคยนอน เคยรอนแรมไปกับเรือหาปลา ดักลอบ กู้อวน แม่แต่เรือท่านเจ้าสัวพ่อคุณเรียม ลือประเสริฐ ที่มีเรือเป็นสิบๆลำก็ยังไว้ใจลุง” ผมชักสนใจเรื่องราวอันเกี่ยวกับบ้านผมและญาติๆของผม

“เล่าให้ผมฟังเถอะลุง อะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับท่าฉลอมหรือเมืองมหาชัยของเรา” เฒ่าทะเลตัวจริงหยิบบุหรี่ใบที่ม้วนยาฝอยไว้เรียบร้อยจากกระป๋องขึ้นมาจุดไฟสูบ 2-3ครั้งประมาณนั้น นัยน์ตาก็เลื่อนลอยมองไปที่ฝั่งมหาชัยที่ม่านฟ้าดำมืดมีแต่ดาวระยิบระยับอยู่ไกลๆ

กระแสคลื่นอันคลุ้มคลั่ง หรือจะขลังเท่ามนต์แห่งความรัก ที่ใอ้หนุ่มผิวทองแดงเพิ่งจะรู้จักเริ่มจะริรัก ไหนจะมีปลาที่คัดแล้วว่าดีผูกติดเอวอยู่ 2-3 ตัว ไหนจะเอาเสื้อผ้าผูกเทินหัวไว้ไม่ให้เปียก แต่ความรักรอคอยอยู่ มันจึงว่ายตัดคลื่นปราดเปรียวเป็นฉลามกล้าไปสู่ฝั่งมหาชัย เพราะแม่พยอมหอมหัวใจ รอคอยอยู่แล้ว

“ก็เธอสวยใช่ไหมจ๊ะ…ทะเลจ๋า”

ชีวิตไอ้หนุ่มตังเก ดำเนินไปในความรักได้ไม่ช้าไม่นาน สาวพยอมก็ถูกพรากจากฝั่งมหาชัยไปเป็นดอกไม้ประดับหูชายอื่นเมืองอื่นเสียแล้ว ความรักของไอ้หนุ่มชาวเลเหมือนพายุผ่านไปชั่วแล่น ไม่เห็นหน แต่พี่ก็รักพยอมเหมือนรักทะเลนะ

ที่ต้องเห็นต้องทนอยู่ตลอดชาติ ชั่วลมหายใจ ผมก็ได้เพลงท่าฉลอมไว้ในท่อนหนึ่งว่า “พี่อยู่ไกลถึงท่าฉลอม แต่พี่ไม่ตรอมเพราะรักพยอมยามยาก” เศร้าซึมไปกับคำเล่าของลุง แต่ก็ต้องตื่นจากภวังค์ เมื่อระฆังเร่งให้คนลงเรือ เพราะเรือกำลังจะออกจากท่าเรือข้ามมาฝั่งท่าฉลอมตั้งนานแล้ว และคนกำลังจะเต็มจะข้ามกลับไปฝั่งมหาชัย

“เร็วคุณ เรือจะออกแล้ว”

ผมก็เร็วทันใจ วิ่งไปที่สะพานกระโจนแผล็วลงไปที่เรือ เรือเบนหัวออกจากฝั่งทันที แล้วก็นึกขึ้นมาได้รีบเดินหลีกคนมาทางท้ายเรือตะโกนแข่งกับเสียงเครื่องยนต์

“ลุง ผมลืมถามไป ลุงชื่ออะไรนะ”

“บุญเย็น”

“ขอบใจ ผมจะเขียนเพลงจากชีวิตรักของลุงได้ไหม?”

“เพลงอาราย……?”

“ท่าฉลอม” เสียงสุดท้ายกลืนหายไปกับเสียงเครื่องยนต์

กว๊านพะเยา – เพลงจากสายน้ำ โดย ชาลี อินทรวิจิตร

ผมถูกหลอก ถูกโกหกคำโตมา 40 กว่าปี ว่า “กว๊านพะเยา”งดงาม สมเป็นสายน้ำธรรมชาติ เช่น แม่ปิง แม่วัง ยม น่าน ฟังเขาเล่าว่าน้ำใสยังกับตาตั๊กแตนดอกหญ้าพลิ้วไหว อยู่ริมฝั่ง หนุ่มสาวพลอดรักกันเป็นคู่ๆ สายน้ำไหลรินอยู่ชั่วนาตาปี อย่างนี้ทำไมเล่าผมจะไม่เคลิ้มคล้อย ยิ่งได้ยินคำกระแนะกระแหนว่าเขียน หรือแต่งยังไงเพลงกว๊านพะเยาก็คงดังเทียบเพลงเรือนแพ ที่ดังก่อนภาพยนตร์จะฉายเสียอีกไม่ได้ ผมถือว่าเป็นคำท้าทาย เรือนแพ ผมแต่งกับคุณสง่า อารัมภีร์ “กว๊านพะเยา” ฟ้าเป็นใจให้ผมแต่งกับคุณสมาน กาญจนะผลิน ผมประมาณในใจว่าต้องสู้ได้ ถ้ากว๊านพะเยา สวยสมคำบอกเล่าของชรินทร์ นันทนาคร และดอกดิน กัลยามาลย์จริง

“โอ้ธารสวรรค์ กว๊านพะเยา ธารรักเราครวญคร่ำ
ลมโชยพริ้วฉ่ำ ในวังน้ำวน พร่างพรมมนต์รักมา
ดูราวสายชล ธารสวยตระการ อยู่ในนิทรา
แว่วเพลงรัก ของปักษา ร้องอำลาคืนรัง”

ผมฝันมากไปหรือเปล่า วานท่านผู้อ่านคิดเอาเอง ผมเข้าใจว่า กว๊านพะเยา งดงามด้วยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสายน้ำอันฉ่ำใสไร้มลพิษ ถ้ามีทำนองพิเศษอีก 8 ห้องเหมือนกับเพลงยุคใหม่ ผมอาจจะเขียนคำร้องเพิ่มเติมว่า ลำธารเล็กๆของกว๊านพะเยา จะคดเคี้ยวเลี้ยวลับ หายไปที่เส้นขอบฟ้า พัดพาเอาความชื่นฉ่ำ ความรัก ความอาทรเยื่อใยจากหมู่บ้านหนึ่งไปสู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง ให้ผู้คนยิ้มกว้างเต็มแผ่นดิน

5 ปี ต่อมา จากวันที่แต่งให้ภาพยนตร์เรื่องนั้นของกัญญามาลย์ภาพยนตร์ไปแล้ว วันเวลานำพาชีวิตผมมาสัมผัสกับกว๊านพะเยาเข้าจริงๆ กว๊านพะเยาก็คือบึงกว้างใหญ่นั่นเอง ไม่มีน้ำไหลรินอย่างที่ผมเข้าใจ กว๊านพะเยาถูกปล่อยปละละเลยตามมีตามเกิด มีผักตบชวาซบน้ำอยู่เกลื่อนกลาด กลางบึงมีตาแก่คนหนึ่งกำลังลอยเรือตกปลายอยู่กลางแดดอย่างคนสู้โลก เป็นฉากหม่นในชีวิตที่ผมได้ใกล้ชิดกับกว๊านพะเยา โดยที่แอ่งกว้างๆแห่งกว๊านไม่รับรู้ใด ๆ กับบทเพลงของผมเลย

หลายคำในบทเพลงถูกเยาะเย้ยได้ แต่ความภูมิใจไม่มีใครหยามหยันได้หรอก บางถ้อยคำในเพลงเกินความเป็นจริง แต่ก็ยังเป็นบทเพลงอมตะที่หลายหลากคนยังร้องกันอยู่
กว๊านหรือบึงเกาะแก่งแอ่งน้ำไร้สายน้ำไหลก็จริง แต่จะกวาดฟ้าครามที่ลอยอยู่เหนือกว๊านหรือบึงออกได้หรือ จะห้ามดวงตะวันสีแดงที่ส่องประกายระยิบระยับ ตอนจะลาลับโลกโศกสลดในกว๊านอันกว้างใหญ่ได้หรือ

“โน่นทิวทุ่งลิบ รวงทิพย์ เรืองรอง ราวสีทองเปลวปลั่ง
ธาราไหลหลั่ง ใสราวน้ำวัง ขังน้ำตาแห่งดาว
ห้วงน้ำลึกนัก ห้วงรักลึกกว่าหลายเท่า
แม้นรัก มิจริงกับเรา อายกว๊านพะเยา หลายเท่าเอย”