ปี 2513 วงดนตรีประเภทสตริงคอมโบเกิดขึ้นมากมาย เพราะอิทธิพลของเพลงตะวันตกแทรกซึมเข้ามา ในวงการเพลงไทยอย่างแพร่หลาย ถึงขั้นมีการจัดการประกวดสตริงคอมโบขึ้นเป็นครั้งที่ 1 และจัดเรื่อยมา จนถึงครั้งที่ 3 ปี 2514
นคร เวชสุภาพร สมาชิกคนแรกของวง สนใจเล่นดนตรีตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ วิทยาลัยบพิตรพิมุข และไดัชักชวนเพื่อนๆ ตั้งวงดนตรีชื่อว่า “Extreme” ซึ่งเพลงที่นิยมเล่นเป็นเพลง Under ground ชอง Grand Funk Railroad กับ Jimi Hendrix and Experience และเมื่อมีการประกวดสตริงคอมโบครั้งที่ 3 ซึ่ง นคร และเพื่อนๆ สนใจที่จะเช้าร่วมประกวด แต่ชื่อวงที่จะใช้ชื่ออะไรในใบสมัคร? เพราะ Extreme เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเล่นๆ
ในที่สุดก็นำชื่อของสองวงที่ชื่นชอบมารวมกันเป็น GRAND EXPERIENCE แต่เพื่อนๆ มักเรียกชื่อนี้ไม่ได้เพราะออกเสียงยาก และยาวเกินไป พอดีในช่วงนั้นที่ประเทศญี่ปุ่นมีงานเอ็กโป ในโปสเตอร์เขียนว่า EX’ 70 ซึ่งย่อมาจาก “เอ็กซ์โป 1970” จึงนำมาใช้บ้างโดยเปลี่ยนจาก EXPERIENCE กลายเป็น EX’ แทน เป็นที่พอใจและใช้ชื่อ GRAND EX’ นับจากนั้นมา
ในนามของ GRAND EX’ วงดนตรีสตริงคอมโบ ประเภทนักเรียน วิทยาลัยบพิตรพิมุข ประกอบด้วย
นคร เวชสุภาพร กีตาร์ Solo (หัวหน้าวง)
ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง
วราวุธ หิรัญวรรณ เบส
กำธร จิ้มลิ้มจินดา กีตาร์คอร์ด
สมมาตร ธูปจินดา ออร์แกน
ดำรง ชื่นเจริญสุช โฆษก และ นักร้อง
ณรงค์ เผือกห้าวหาญ นักร้องนำ
การประกวดสตริงคอมโบครั้งที่ประเภทนักเรียน วงมัมมี่ได้รางวัลชนะเลิศไปครอง ส่วนวง GRAND EX’ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ และรางวัลขวัญใจสื่อมวลชน เนื่องจากแต่งตัวสุภาพเรียบร้อยใส่เสื้อขาว กางเกงขายาวสีดำ ผูกเน็คไท และผมสั้นกันเหมือนกันหมดทุกคน แม้จะเล่นดนตรีร๊อค ต่างจากวงอื่นในสมัยนั้นนิยมไว้ผมยาว
เมื่อจบการศึกษาจากวิทยาลัยบพิตรพิมุข เพื่อนๆ ต่างแยกย้ายกันไปเรียนต่อ นคร สอบเอ็นทรานส์ได้ที่มหาวิทยาลัยศิลปกร ทับแก้ว นครปฐม แต่เพื่อนๆ ส่วนใหญ่เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อจะได้มีเวลาซ้อมดนตรีกับเพื่อนๆ นคร จึงปรึกษาคุณพ่อ คุณแม่ และตัดสินใจเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งความตั้งใจในช่วงนั้นอยากจะลองเล่นดนตรีอย่างจริงจังสัก 2-3 ปี
แกรนด์เอ็กซ์ในยุคแรกเริ่มสลายตัวไป เพราะบางคนต้องการเรียนต่อ หรืออยากทำงานอื่น คงเหลือ นคร ประสิทธิ์ และ วราวุธ เพียงสามคน นครเริ่มหาสมาชิกใหม่ ซึ่งได้ วิวัฒน์ ไชยเจริญ มืองเปียโนจากวง The Bless มาร่วมวง และแนะนำ วสันต์ แต้สกุล (สิริสุขพิสัย) มาเป็นนักร้อง
วงดนตรีในยุคนั้นต้องมีเครื่องเป่า วสันต์แนะนำให้ไปลองหาดูแถวท่าเรือ มีวงออริจินอล ที่เล่นเครื่องเป่าดี แกรนด์เอ็กซ์จึงได้ เสน่ห์ ศุภรัตน์ (ทรัมเป็ต) ชาย แสงชะอุ่ม (แซ็กโซโฟน) และ สมศักดิ์ อภิวัฒน์ธีรกุล (ทรอมโบน) เข้ามาร่วมวง เป็นสตริงคอมโบสมบูรณ์แบบที่นครใฝ่ฝัน
หลังจาก วิวัฒน์ มือคียบอร์ดถูกดึงไปเล่นวงอื่น วสันต์ จึงมาเล่นคีย์บอร์ดแทน และได้ กบ จากวงสยามธุรกิจมาช่วยเป็นนักร้อง และเมื่อวราวุธ มือเบส ตั้งแต่สมัยยุคเริ่มต้นของแกรนด์เอ็กซ์ลาออก จึงนึกถึง ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ ที่เคยมาสมัครวงแกรนด์เอ็กซ์ครั้งนึงแล้ว มาเป็นมือเบส
ต่อมา กบ นักร้องนำได้ลาออก แกรนด์เอ็กซ์ ได้นักร้องนำเข้ามาแทนคือ จำรัส เศวตาภรณ์ ซึ่งขณะนั้น จำรัสเรียนอยู่ปี 1 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหน้าที่ทั้งเล่นกีตาร์และร้องเพลง เพลงที่ร้องส่วนใหญ่เป็นเพลง Pop ที่ฮิตๆ ในเมืองไทย
แกรนด์เอ็กซ์อยากมีแผ่นเสียงเป็นของตัวเอง และในที่สุดก็มี Single คู่นก ออกมามีทั้งหมด 4 เพลง
คู่นก (2519 ซิงเกิลเพลงไทยชุดแรก)
- คู่นก (จำรัส)
- ช้าหน่อยรัก (จำรัส)
- เพ้อรัก (นคร)
- เธอเท่านั้น (นคร)
สมาชิกของวงยุคนั้นประกอบด้วย
นคร เวชสุภาพร กีตาร์, ร้องนำ (หัวหน้าวง)
ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง, ร้อง
วสันต์ สิริสุขพิสัย ออร์แกน, ร้อง
เสน่ห์ ศุภรัตน์ ทรัมเป็ต
สมศักดิ์ อภิวัฒน์ธีรกุล ทรอมโบน, เรียบเรียงเสียงประสาน
ชาย แสงชะอุ่ม แซ็กโซโฟน
ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ เบส
จำรัส เศวตาภรณ์ กีตาร์, ร้องนำ
หลังจากออก Single คู่นกไม่นาน ชาย แสงชะอุ่ม ได้ขอลาออกไป และได้รับ พนัส หิรัญกสิ เข้ามาเล่นแซกโซโฟนแทน และด้วยสมาชิกชุดนี้ได้ออกอัลบั้มตามมาอีก 3 อัลบั้มด้วยกันคือ อัลบั้มลูกทุ่งดิสโก้ ที่ทำให้คนทั้งประเทศรู้จัก แกรนด์เอ็กซ์ อัลบั้มแสดงสด ณ แมนฮัตตัน และ อัลบั้มลูกทุ่งดิสโก้ ๒ ตามลำดับ
ลูกทุ่งดิสโก้ชุดที่ 1 (สิงหาคม 2521)
- สาวอีสานรอรัก
- หลังคาแดง
- ฉันทนาที่รัก
- น้องใส่เสื้อลาย
- หิ้วกระเป๋า
- ปูไข่ไก่หลง
- ดอกอะไร
- สาวผักไห่
- แสบเข้าไปถึงทรวง
- หมดเสียแหละดี
- นิ้งหน่อง
- บ้านนี้ฉันรัก
- เหล้าจ๋า
- น้องใส่เสื้อลาย (บรรเลง)
- สาวผักไห่ (บรรเลง)
- หลังคาแดง (บรรเลง)
- สาวอีสานรอรัก (บรรเลง)
- ปูไข่ไก่หลง (บรรเลง)
ลูกทุ่งดิสโก้ชุดที่ 2 (มีนาคม 2523)
- จำอ้ายได้บ่นาง
- สาวอยู่บ้านได๋
- เทพธิดาเทวี
- ฝนตกรถติด
- หงส์ปีกหัก
- รักข้ามคลอง
- คุณนายโรงแรม
- แตงเถาตาย
- มอง
- ไก่นาตาฟาง
- ใครลืมใครก่อน
- บ้านใกล้เรือนเคียง
จำรัส เศวตาภรณ์ จำต้องลาออกจากวงไปเพราะต้องไปช่วยกิจการของทางบ้าน ไม่มีเวลาพอที่จะมาเล่นดนตรีร่วมกับเพื่อนๆ ในวงได้ ขณะเดียวกัน สมศักดิ์ มือทรอมโบนก็ขอลาออกด้วย เนื่องจากมีอาการไม่สบายป่วยบ่อยๆ
แกรนด์เอ็กซ์ได้โชคดี พักภู่ ซึ่งรู้จักกันอยู่แล้วมาเล่น ทรอมโบน และได้ติดต่อ ดนุพล แก้วกาญจน์ ซึ่งเป็นนักร้องโฟลค์ซอง ร้องเพลงสไตล์ Bee Gees ได้ดี มาป็นนักร้องนำ มีผลงานร่วมกันออกมาคือ
เขิน (กรกฎาคม 2523)
- เขิน (นคร)
- เธอคือหัวใจ (ดนุพล)
- โอ้รัก (ดนุพล)
- รักแรกพบ (พนัส)
- กล่อมรัก (ดนุพล)
- ดอกไม้
- พบเธอในฝัน
- ช่างเถอะวันนี้ (ประสิทธิ์)
- สัญญา (นคร)
- ไกลตา ใกล้ใจ (เสน่ห์)
ผู้หญิง (มีนาคม 2524)
- แม่ใจร้าย (นคร เวชสุภาพร)
- ต้อยติ่ง (ดนุพล)
- พลอยหุง (ดนุพล)
- มิใช่กากี
- เห็นแล้วหวั่นใจ
- พระรามหก (หญิง)
- พระรามหก (ชาย)
- อำแดงป้อม
- แม่จ๋า
- สิ้นสวาท
แกรนด์เอ็กซ์ โอ (ตุลาคม 2524) (วงเรนโบว์ได้นำอัลบั้มนี้มาร้องใหม่ใน พ.ศ. 2537)
- ภาพดวงใจ (เสน่ห์)
- ลาก่อนความรัก (ดนุพล)
- ลมสวาท (ดนุพล)
- เกิดมาพึ่งกัน (นคร)
- คนธรรพ์รำพึง (ดนุพล)
- บัวน้อยคอยรัก (นคร)
- นิราศนุช (ดนุพล)
- ไก่ฟ้า (ประสิทธิ์)
- ทาสรัก (ดนุพล)
- สวรรค์ในเรือเพลง (ร้องหมู่)
บุพเพสันนิวาส (มีนาคม 2525)
- กลิ่นดอกโศก (นคร)
- อยากมีรัก (ดนุพล)
- บุพเพสันนิวาส (ร้องหมู่)
- อุษาสวาท (ดนุพล)
- นางนวล (พนัส)
- ดาวล้อมเดือน (ร้องหมู่, ดนุพล)
- สุดดินสุดฟ้า (ดนุพล)
- ปทุมไฉไล (ร้องหมู่)
- ชีวิตใหม่ (นคร)
- รักเดียว (วสันต์)
นิจนิรันดร์ (กันยายน 2525)
- บัวตูมบัวบาน (นคร)
- ผมไปไม่พ้น (ทนงศักดิ์)
- ลืมรัก (นคร)
- ง้อเพราะรัก (วสันต์)
- เพ็ญโสภา (ประสิทธิ์)
- อย่าเห็นกันดีกว่า (ดนุพล)
- คิดถึงเธออยู่ทุกลมหายใจ (พนัส)
- ชั่วนิจนิรันดร (ดนุพล)
- สายทิพย์ (ร้องหมู่)
- อย่าหย่า (ดนุพล)
ระหว่างกำลังทำอัลบั้มที่ 10 แกรนด์เอ็กซ์ได้ สมาชิกใหม่เข้ามาร่วมวง คือ ศรายุทธ สุปัญโญ มือคีย์บอร์ดชั้นแนวหน้าของเมืองไทย และยังมีฝืมือด้านเรียบเรียงเสียงประสานอีกด้วยแกรนด์เอ็กซ์ มีผลงานตามออกมาอีก 4 อัลบั้ม ได้แก่
พรหมลิขิต (ตุลาคม 2525)
- ฟลอร์เฟื่องฟ้า (ดนุพล)
- เดียวดาย (เสน่ห์)
- กังหันต้องลม (ดนุพล)
- หนึ่งในดวงใจ (ดนุพล)
- สู่อนาคต (ประสิทธิ์)
- สุขกันเถอะเรา (โชคดี)
- พรหมลิขิต (นคร)
- คิดถึง (ดนุพล)
- ยามรัก (ดนุพล)
- ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง (ดนุพล)
เพชร (กันยายน 2526)
- เพียงสบตา (ดนุพล)
- ความรักคือการให้ (เสน่ห์)
- น้ำค้าง (ประสิทธิ์)
- เพื่อน (ดนุพล)
- รักในซีเมเจอร์ (นคร)
- ทราย (บรรเลง)
- เพชร (ศรายุทธ)
- เจ้ากบ (วสันต์)
- อาลัย (วสันต์)
- หญิงหนึ่งคือเธอ (พนัส)
- หม้ายหัวใจ (ดนุพล)
- ทราย (บรรเลง)
บริสุทธิ์ (เมษายน 2527)
- เชื่อฉัน (ดนุพล)
- โลกที่ไม่เท่ากัน (ดนุพล)
- แอบมอง (ทนงศักดิ์)
- โบว์สีแดง (ประสิทธิ์)
- ผูกขวัญ (นคร เวชสุภาพร)
- บริสุทธิ์ (บรรเลง)
- หนึ่งหทัย (วสันต์)
- ป้าแช่ม (โชคดี)
- วันที่จากเธอ (นคร)
- ไม้ใกล้ฝั่ง (พนัส)
- บริสุทธิ์ (ดนุพล)
ดวงเดือน (พฤศจิกายน 2527)
- ลาวดวงเดือน (ดนุพล)
- เหมือนไม่เคย (ดนุพล)
- ถ้าฉันจะรัก (ดนุพล)
- ดวงใจในฝัน (ดนุพล)
- เท่านี้ก็ตรม (ดนุพล)
- จำพราก (ดนุพล)
- ร.รอรัก (โชคดี)
- ธรณีสายเลือด (เสน่ห์)
- ทำบุญด้วยอะไร (วสันต์)
- กาลเวลา (พนัส)
- พรุ่งนี้ (ประสิทธิ์)
- เนื้อทองของพี่ (นคร)
- ลาวดวงเดือน (บรรเลง)
แกรนด์เอ็กซ์ มีสมาชิกหลัก 9 คนประกอบด้วย
นคร เวชสุภาพร กีตาร์, ร้องนำ (หัวหน้าวง)
ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง, ร้อง
วสันต์ สิริสุขพิสัย ออร์แกน, ร้อง
เสน่ห์ ศุภรัตน์ ทรัมเป็ต
ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ เบส
พนัส หิรัญกสิ แซ็กโซโฟน
โชคดี พักภู่ ทรอมโบน
ดนุพล แก้วกาญจน์ ร้องนำ
ศรายุทธ สุปัญโญ คีย์บอร์ด
ถึงเวลาจำต้องแยกย้ายเหลือไว้เพียงตำนานบทเพลงให้กับแฟนเพลง เมื่อสมาชิก 5 คนได้ขอลาออกประกอบด้วย วสันต์ สิริสุขพิสัย, เสน่ห์ ศุภรัตน์, ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ, พนัส หิรัญกสิ, ศรายุทธ สุปัญโญ โดยที่ วสันต์, เสน่ห์, ทนงศักดิ์, พนัส ได้ตั้งวงขึ้นใหม่ในชื่อ “เพื่อน”
แกรนด์เอ็กซ์ยังคงมีสมาชิกอีก 4 คน นครเวช สุภาพร, ประสิทธิ์ ไชยะโท, โชคดี พักภู่ และ ดนุพล แก้วกาญจน์ ผลิตผลงานต่อไปภายใต้ชื่อใหม่ว่า “แกรนด์เอ็กซ์ แฟมิลี่”
หัวใจสีชมพู (มีนาคม 2528)
- หัวใจสีชมพู (ดนุพล)
- ระฆังใจ (นคร)
- หนทางสู่รัก (ดนุพล)
- หัวใจที่ถอดวาง (ดนุพล)
- แพรพิศวาส (ร้องหมู่)
- ลุงเชย (โชคดี)
- จันทร์เจ้า (ประสิทธิ์)
- ไกลพี่ (ดนุพล)
- ขอใจให้พี่ (ดนุพล)
- เกินฝัน (นคร)
ชุดที่ 16. สายใย (กรกฎาคม 2528) ในชุดนี้มีนักร้องเข้ามาเสริมอีกคน คือ ไอศูรย์ วาทยานนท์
- คนธรรพ์รำพัน (ดนุพล)
- แปรงสีฟัน (นคร)
- รักอำพราง (ไอศูรย์)
- สายัณห์รัญจวน (ดนุพล)
- ไกลบ้าน (ดนุพล)
- สายใย (ไอศูรย์)
- กีฬามหาสนุก (โชคดี)
- ฝันดี (ประสิทธิ์)
- ยังคอย (ดนุพล)
- ไม่รักไม่ว่า (ดนุพล)
- ยอม (ดนุพล)
- รักเอย (นคร)
ในที่สุด ดนุพล แก้วกาญจน์ ได้ขอลาออกเมื่อเสร็จสิ้นอัลบั้มชุดที่ 16 เรียบร้อยแล้วไปเป็นศิลปินเดี่ยว ส่วน นคร, ประสิทธิ์ และ โชคดี หันไปทำงานเบื้องหลังแทน
อัลบั้มชุดที่ 17 นิรันดร์กาล แกรนด์เอ็กซ์มี สุธี แสงเสรีชน เข้ามาร่วมงานในตำแหน่งกีตาร์โซโล และร้องนำ
17. นิรันดร์กาล (พฤษภาคม 2529)
- เก็บรัก
- เด็กผู้หญิง
- ความรัก (สุธี)
- พี่ยังรักเธอไม่คลาย (สุธี)
- ฉันอยู่คนเดียว
- รักครึ่งใจ
- แรกรัก
- นิรันดร์กาล
- ฝันประหลาด (โชคดี)
- ใกล้เพียงลมหายใจ
- เพียงสองเรา
- ความหวัง
ตามด้วย อัลบั้มพิเศษ ขวดโหล 1 และ 2 มีสมาชิกที่เพิ่มเข้ามาคือ อริชัย อรัญนารถ และ จอนนี่ แอนโฟเน่
ขวดโหล 1 (กุมภาพันธ์ 2529)
- วัยสีชมพู (นคร)
- ทายาท
- เหตุผลที่ฉันร้องเพลง
- คนสวย
- ทรายกับทะเล (อริชัย อรัญนารถ)
- เบื้องหลังตัวโน้ต
- วิธีแก้โลกอับเฉา
- ไม่มีคำว่าสาย
- เสียงครวญจากคนหน้าตาธรรมดา
- โลกสวย
- วัยสีชมพู (บรรเลง)
ขวดโหล 2 (2529)
- ขอภาพไว้คั่นตำรา (สุธี)
- บาดเจ็บนิด ๆ (ไอศูรย์)
- บ๊าย บายความรัก
- ยิ้มแป้น
- คำสารภาพของรองเท้าผ้าใบ
- ขอภาพไว้คั่นตำรา (บรรเลง)
- ข่าวสด ๆ (โชคดี)
- แด่ดาวหางฮัลเล่ย์
- หมัดสีชมพู
- เพียงความทรงจำ
- เพลงอำลา
- บาดเจ็บนิด ๆ (บรรเลง)
18. อยากให้ความรัก (แก่คนทั้งโลก) (กุมภาพันธ์ 2530) มีสมาชิกใหม่คือ พิทพล โชติสรยุทธ
- หนึ่งนาที
- เพียงคนเดียว (สุธี)
- ชู-บี-ดู-วา (ตรอกซอกซอยของความรัก)
- รักใครหรือยัง (อริชัย)
- หากรู้สักนิด
- รถไฟสายความรัก (คณิต)
- อยากให้ความรัก (แก่คนทั้งโลก) (นคร)
- น้อย ๆ หน่อย (ประสิทธิ์)
- รักเขาข้างเดียว
- เพลิน
- ใครนะใคร ?
- คิด คิด คิด ถึงเธอ
ดวงใจกับความรัก
ได้ไหม (พฤศจิกายน 2531)
อัลบั้มชุดที่ 19. ได้ไหม มี จาคมัย ศรีวาลัย เข้ามาตีกลองแทนจอนนี่ ที่ลาออกไป และเป็นผลงานชุดสุดท้ายภายใต้ชื่อ “แกรนด์เอ็กซ์ แฟมิลี่”
- ได้ไหม (สุธี)
- ฝืด
- เกิดเป็นผู้ชาย (สุธี)
- ป.ล. โปรดตอบ
- ฉันเข้าใจ
- ทนไม่ไหว
- สะใจกว่า
- ใจหาย (สุธี)
- อย่าทิ้งกันไป
- ซุบซิบนินทา
- ใจมันสั่ง
- ผูกพัน (สุธี)