พรานบูรพ์ ศิลปินของประชาชน

พรานบูรพ์

พรานบูรพ์ ศิลปินของประชาชน

เขียนโดย สันติเทพ ศิลปบรรเลง

เราท่านทุกคนย่อมเคยได้ยินได้ฟังเพลงไทยเดิม และเพลงไทยสากลกันอยู่เป็นประจํา ซึ่งย่อมมีรสนิยมแตกต่างกันไปตามความพอใจ บางท่านก็ชอบฟังเพลงไทยเดิมหรือมโหรี เพราะ นุ่มนวลแช่มช้อยแบบไทยแท้บ้างก็ชอบเพลงไทยสากลซึ่งฟังง่ายเข้าใจง่ายและรวดเร็วทันอกทันใจ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า เพลงไทยสากลที่ร้อง-เล่นกันอยู่ทุกวันนี้ล้วนแต่เป็นพัฒนาการอันเป็น ผลพวงมาจากเพลงไทยเดิมทั้งสิ้น แม้ว่าบางเพลงที่น่ามาดัดแปลงแต่งเติมขึ้นใหม่ ก็มักจะมีทํานองหลักมาจากเพลงไทยเดิมนั่นเอง ผู้แต่งก็ดัดแปลงให้เป็นทํานองฝรั่งมีจังหวะต่าง ๆ กัน ให้ดูแปลกออกไป ใส่เนื้อเรื่องให้ทันสมัย จึงพลิกกลับกลายมาเป็นเพลงไทยสากล

แต่ท่านนักนิยมเพลงทั้งหลายท่านพอจะทราบบ้างหรือไม่ว่า ใครเป็นผู้ริเริ่มทําเพลง จากเพลิงไทยเดิมให้มาเป็นเพลงไทยสากล? ใครเป็นผู้บุกเบิกแนวการบรรเลงดนตรี และทํานองเพลงในเมืองไทยให้เป็นสากลนิยมมากขึ้น? ใครเป็นผู้เผยแพร่ศิลปการละคร ที่เรียกว่า “ละครร้อง” แบบสมัยใหม่ โดยผู้แสดงเป็นผู้ร้องเพลงไทยสากลทั้งสิ้น

คําตอบก็คือบุคคลท่านหนึ่งซึ่งเป็นศิลปินอมตะของชาติไทยผู้ใช้นามแฝงว่า “พรานบูรพ์

พรานบูรพ์

พรานบูรพ์ ได้รับยกย่องว่าเป็น “ปรมาจารย์ทางเพลงไทยสากล” และเป็น “บรมครู ละครร้อง” ของไทยผู้ได้สร้างผลงานละครและเพลงอันเป็นอมตะมากมายสืบต่อมาเป็นมรดกของ ชาติจนทุกวันนี้

ในที่นี้จะขออธิบายชีวประวัติและผลงานสําคัญของ “พรานบูรพ์” ให้ประจักษ์แก่ท่าน ดังนี้

“พรานบูรพ์ นามจริงคือ จวงจันทร์ จันทร์คณา เกิตที่อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2444 เป็นบุตรของ หลวงราชสมบัติ และนางสร้อยมารดา บิดารับราชการโยกย้ายไปหลายจังหวัดจึงได้เรียนหนังสือตามจังหวัดที่บิดาย้ายไปประจําอยู่ จนอายุ 11 ปี จึงเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนจบชั้นมัธยมปีที่ 2 แล้วสอบเข้าศึกษาต่อคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเป็นนิสิตจุฬาฯ บิดาถึงแก่กรรมจึงขาดผู้อุปการะส่งเสียให้เล่าเรียนจึงต้องออกจากมหาวิทยาลัย เพื่อหางานทําประกอบอาชีพ

นายจวงจันทร์ จันทร์คณา ในวัยรุ่นหนุ่มเป็นผู้มีใจรักทางดนตรีและเพลงเป็นชีวิตจิตใจ ในระยะนั้นเป็นต้นสมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีแต่ดนตรีไทยเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะได้ฟังได้เล่น ท่านจึงฟังเสียงดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็กและรู้สึกจับใจเข้าถึงรสของตนตรีไทยอันจะเป็นพื้นฐานสําคัญที่ บันดาลใจให้ท่านผู้นี้มีความคิดแปลกแยกไปในเรื่องของเพลงต่อมา

ท่านได้เล่นดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็ก โดยสีซอด้วง, ซออู้ เป่าขลุ่ยและสีซอ ไวโอลิน ตลอดจนร้องเพลงได้ดีมาตั้งแต่เป็นนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นอกจากนี้ยังสนใจในกีฬาฟุตบอลเป็นอันมากได้เคยเป็นนักฟุตบอลของโรงเรียนอีกด้วย นอกจากในสมัยระยะวัยรุ่นของท่านประมาณ ปี พ.ศ. 2455 จนถึง พ.ศ. 2472 เป็นระยะที่ละครเวที่กําลังเฟื่องฟูมาก เพราะเป็นการบันเทิงในรูปแบบเดียวที่จะแสดงแก่ประชาชนได้ สมัยนั้นไม่มีภาพยนตร์หรือโทรทัศน์และวิดีโอเทปเหมือนปัจจุบันนี้ จึงมีแต่การแสดงละครเพียงอย่างเดียวที่เป็นเครื่องบันเทิงเริงรมย์แก่ประชาชน

เมื่อนายจวงจันทร์ จันทร์คณา ได้ออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างที่ยังเรียนไม่จบ ด้วยใจรักดนตรี และละครจึงมารับจ้างบอกบทละครตามโรงละครต่าง ๆ แล้วในที่สุดก็แต่งบทละครด้วยตนเองพร้อมทั้งแต่งเพลงประกอบละคร จนกลายเป็นนักประพันธ์บทและเพลงละครร้องที่มีชื่อเสียงโต่งดังในระยะต่อมา

ในยุคนั้นละครร้องที่เป็นที่นิยมชมชอบกันมากก็คือ ละครของกรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ และละครพันทางกับละครพูดสลับ (ลํานําหรือเพลง) ซึ่งล้วนแต่ใช้เพลงไทยของเก่าบรรเลง และขับร้องโดยผู้แสดงเป็นผู้ร้องเองทั้งสิ้น การที่ได้อยู่กับโรงละครร้องจึงทําให้ท่านได้ซึมซับ รับเอาบทร้องและทํานองเพลงไทยของเก่าหรือที่เรียกว่า “เพลงไทยเดิม” ได้อย่างมากมาย จนรู้จักและจดจําเพลงต่าง ๆ ได้เป็นอันมาก ถึงกับรอบรู้ในเรื่องเพลงไทยและบทละครอย่างหาตัวจับยาก

ประสบการณ์ในโรงละครนี่แหละ เป็นข้อมูลพื้นฐานอันสําคัญยิ่งที่ทําให้ท่านผู้นี้สามารถนําทํานองเพลงของเก่ามาใช้ ในการขับร้องบทเพลงในละครของท่านได้อย่างแนบเนียนเป็นอย่างดี

เมื่อท่านได้แต่งบทละครและบทเพลงได้ด้วยตนเองแล้วก็จะนําออกแสดง ละคร เรื่องแรกของท่านคือเรื่อง “ทะแกล้วสามเกลอ” เมื่อออกแสดงแล้วปรากฏว่าได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้เข้าชมเป็นอันมาก ละครเรื่องนี้ท่านแต่งขึ้นเมื่อยังไม่ได้คิดนามปากกาหรือนามแฝงจึงชื่อชื่อ-นามสกุลจริงไปก่อน

ละครเรื่องต่อมาคือเรื่อง “เหยี่ยวทะเล” ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ท่านคิดใช้นามปากกา “พรานบูรพ์” เป็นผู้ประพันธ์ สาเหตุที่ใช้นามปากกานี้นั้นเนื่องมาจากใต้พบ คําประพันธ์ จากวรรณกรรมเรื่อง”รูไบยาต” ของโอมาร์คัยยาม แปลโดย กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ ทรงแปลไว้ว่า

“ตื่นเถิด อุทัยเจิดเล้า     รัตยา ผยองเอย

        ดาวเจิ่ง, เวิ้งสวรรค์ลา   ลิบแล้ว

พรานบูรพ์, ทอดบ่วงถา โถมคร่อม คล้องแฮ

ปราสาท, สุลต่านแพร้ว  พรีอสร้านฉานแสง”

คําว่า “พรานบูรพ์” จึงมีความหมายว่า พรานแห่งทิศบูรพาผู้นําให้ชีวิตทุกชีวิตบนโลกให้ล่วงไปกับวันใหม่และกาลเวลาซึ่งก็หมายถึง พระอาทิตย์นั่นเอง

ท่านได้แต่งบทละครออกมาอีกหลายเรื่อง และแต่งให้แก่คณะศรีโอภาสเป็น ประจํายังไม่มีคณะละครของตนเอง จนกระทั่งถึง .ศ. 2474-2476 จึงได้ตั้งคณะละครของตนเองขึ้นมาและตั้งชื่อคณะว่า “คณะจันทโรภาส” รายการคณะจันทโรภาส ภายใต้การกํากับควบคุมของพรานบูรพ์เป็นคณะละครที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคนั้น ได้สร้างผลงานการแสดงละครออกมามากมายหลายต่อหลายเรื่องซึ่งเป็น ที่ชื่นชอบแก่ประชาชนคนดูเป็นอันมาก แสดงครั้งใดก็มีผู้เข้าชมแน่นโรงทุกวันทุกรอบ จนชื่อของ พรานบูรพ์” และชื่อ “คณะจันทโรภาส” เป็นที่ติดปากติดใจคนไทยทั่วไป ละครที่ได้รับความนิยมมากได้แก่ เรื่อง “โรสิตา” พรานบูรพ์ ตัดแปลงจากบทละครของตะวันตกให้เข้ากับ รสนิยมคนไทย เรื่อง “แผลเก่า” ท่านได้นําเอานวนิยายเรื่องแรกของไม้ เมืองเดิม มาจัดแสดงเป็นละคร ซึ่งเป็นที่ฮือฮา เกรียวกราวชื่นชอบไปทั่วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงประกอบ ที่ร้องในละครเป็นเพลงที่พรานบูรพ์แต่งทํานองและเนื้อร้องด้วยตนเองทั้งหมดทุกเพลิง ซึ่งเพลิง ที่ติดอกติดใจและไพเราะจับใจจนจตจํารําลึกและร้องกันต่อมาจนทุกวันนี้ก็คือเพลง “ขวัญเรียม” ที่มีบทร้องขึ้นต้นว่า.

“เรียมเหลือทนแล้วนั่น…ขวัญของเรียม”

ผลงานการแสดงละครของคณะจันทโรภาส ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมสูงที่สุด คือ เรื่อง “จันทร์เจ้าขา” ละครเรื่องนี้ทําให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังไปทั่วประเทศ นับว่าเป็นผลงานของท่านที่ประสบความสําเร็จยิ่งใหญ่ในชีวิตของศิลปินท่านนี้

 

ละครเรื่อง “จันทร์เจ้าขา” เป็นละครเรื่องเอกที่สุดในชีวิตของท่าน เปิดแสดง เป็นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2474 ที่โรงละครพัฒนาการ ใกล้สามแยกกรุงเทพมหานคร และ เปิดแสดงตลอดทั้งปี โดยเว้นช่วงแสดงเป็นระยะจนตลอดปี และก็น่าแปลกตรงที่มีผู้เข้าชมแน่น โรงทุกรอบที่เปิดแสดงนับว่าเป็นความสําเร็จอันสูงสุด และเป็นข้อยืนยันได้ว่า พรานบูรณ์เป็น ศิลปินที่ชนะใจคนไทยในยุคนั้น

ท่านได้นําคณะละคร “จันทโรภาส” ออกเร่ แสดงไปตามที่ต่าง ๆ ในหลาย จังหวัดเกือบทั่วประเทศจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปถึงในชนบทห่างไกล ประชาชนคนไทยได้รับ ความบันเทิงจากละครคณะนี้เป็นอันมาก จนกระทั่งพรานบูรพ์ ได้รับฉายาว่าเป็น “ศิลปินของประชาชน” ซึ่งท่านก็ได้สร้างผลงานด้านละครและเพลงเพื่อบ้ารุงบําเรอความสุขแก่ประชาชน อย่างแท้จริง

การประพันธ์เพลงในละครร้องของพรานบูรพ์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท กล่าวคือ

ประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ เพลงที่ได้ทํานองมาจากเพลงไทยแท้ของเก่า (เพลงไทยเดิม) แล้วนํามาตัดตอนให้สั้นลง หรือมาเปลี่ยนแปลงวิธีการขับร้องเสียใหม่ คือ ร้องเป็นเนื้อเต็มโดย ตัดเอื้อนยาว ๆ ออกไปทั้งหมดใช้วิธีเอื้อนสั้น ๆ โดยใช้เสียงจากลูกคอเท่านั้น เช่นเพลิงดวงเดือน

ลาวเจริญศรี ลาวคําหอม และเมื่อเป็นเพลงที่ตัดแล้วก็จะมีคําว่า “ตัด” ต่อท้ายชื่อเพลง เช่น สร้อยสนตัด, ทะแยตัด ส่วนเพลงที่นํามาแปลงให้เปลี่ยนออกไปก็ใช้คําว่า “แปลง” ต่อท้ายชื่อเพลง เช่น สุรินทร์แปลงดัดแปลงมาจากเพลงสุรินทราหู เป็นต้น

ประเภทที่สอง ได้แก่ เพลงที่น่าทํานองมากจากเพลงสากลของฝรั่ง หรือเพลงทํานอง ฝรั่งต่าง ๆ เช่นเพลงมาเดอร็อง ก็นําเพลงมาร์ชมาเดอร็อง มาใส่คําร้องภาษาไทยลงไปให้เป็นไทยมากขึ้นเป็นต้น

ประเภทที่สาม เป็นเพลงที่พรานบูรพ์ประพันธ์ขึ้นมาเองจากความคิดคํานึงในท้องเรื่อง ของละครนั้น ๆ เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่โดยลําพัง และไม่ได้ยึดถือทํานองเพลงหนึ่งเพลงใดทั้งสิ้น แต่จะมีลีลาอ่อนโยนเยือกเย็นเป็นบรรยากาศแบบไทย เช่น เพลงขวัญเรียม, เพลงเคียงเรียม, เพลงจันทร์เจ้าขา, เพลงนัดพบ, และเพลงกล้วยไม้ เป็นต้น

การใส่เพลงในบทละคร พรานบูรพ์ยังคงยึดหลักของกรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ คือ จัดเพลิงสลับกับบทพูด และหากตัดบทพูดออกไปเรื่องจะไม่ต่อกัน บทพูดและบทร้องเขียนเป็น กลอนสุภาพทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีเพลงบรรเลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงแทรกระหว่างฉากที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “พรีลูท” หรือ “อินเตอร์ลูท” อีกด้วย นับว่าเป็นการนําเทคนิคของฝรั่งมาประยุกต์ ใช้ได้อย่างเหมาะสมและเป็นที่นิยมของผู้ชม

ละครบางเรื่องพรานบูรพ์จะแทรกบทร้องพิเศษที่เหมือนบทสวด และแต่งคําร้อง เป็นร่ายสุภาพบ้าง ร่ายยาวบ้าง บางตอนจะคล้ายรูปแบบของโคลงสองหรือโครงสามแสดงว่า ท่านมีความรู้ในทางกวีนิพนธ์และฉันทลักษณ์แตกฉานเป็นอย่างดี

บทร้องที่พรานบูรพ์ประพันธ์ขึ้นนั้นได้เป็นรูปแบบ หรือแบบแผนของเพลงไทยสากลใน ยุคต่อ ๆ มาถือว่าเป็นเพลง “ชั้นครู” ของเพลงไทยสากลก็ว่าได้ และยังมีอิทธิพลต่อการใช้ถ้อย คําสํานวนสอดไส้ในทํานองเพลงให้มีบรรยากาศมาพพจนี้จีนตนาการ มีความละเอียด ละเมียด ละไมลึกซึ้งตรึงใจผู้ฟัง เพราะเหตุว่าท่านใช้การประพันธ์ถ้อยคําสัมผัสนอกสัมผัสในสัมผัสเสียง สระข้ามวรรคได้อย่างแพรวพราย นับว่าบทร้องของพรานบูรพ์ เป็นร้อยกรองหรือกวีนิพนธ์ที่ ทรงคุณค่าทางภาษาไทยอีกด้วย

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการใช้ถ้อยคําเพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพพจน์เช่นในเพลง “กล้วยไม้ ความว่า

“กล้วยไม้ของเราแต่เก่าก่อน อยู่ในดงในดอนเจ้าช่อนซ่อซ่อนใบ..ไกลไกล ฝั่งเจ้าอยู่ถึงไหนไหน ใครจะเด็ดจะดมได้เราไม่เห็นเลย.โอ้กล้วยไม้เอย”

จะเห็นได้ว่าท่านเข้าใจเลือกคํามาใช้ในเพลงได้อย่างเหมาะสมและมีความไพเราะ ลึกซึ้งกินใจ ให้แต่เท่านั้น ถ้อยคําสํานวนของท่านได้รับยกย่องว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่ถูกต้องตามหลัก ภาษาและไวยากรณ์ไทยอีกด้วย

ในสมัยที่ภาพยนตร์เริ่มเข้ามาสู่เมืองไทยใหม่ ๆ นั้น โรงภาพยนตร์เสียงศรีกรุงไต้สร้าง ภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์มขึ้นเป็นครั้งแรก พรานบูรพ์ ได้ร่วมมือกับครูนารถ ถาวรบุตร แต่งเพลงในภาพยนตร์เรื่อง “ในสวนรัก” เรื่อง “อ้ายค่อม” เรื่อง “ค่ายบางระจัน” เป็นต้น ต่อมาบริษัทบูรพาศิลปภาพยนตร์ จํากัดสร้างภาพยนตร์ขึ้น ท่านได้แต่งเพลงประกอบไว้มากมาย เช่น เพลงสนมในใจ สามหัวใจ โดยเป็นคนเขียนบทร้องแล้วให้ครูนารถ ถาวรบุตร แต่งทํานอง

ซึ่งจะได้ทํานองเป็นฝรั่งมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากครูนารถ ถาวรบุตร เป็นนักดนตรีสากลโดยแท้ เป็นนักเปียโนฝีมือเยี่ยมเป็นเลิศในยุคนั้น และได้เรียนเปียโนจาก พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) บรมครูดนตรีสากลท่านหนึ่งของเมืองไทย

นอกจากท่านจะเป็นผู้มีความสามารถสูงส่งแล้ว ถ้าหากขาดผู้ช่วยเหลือหรือเป็น ที่ปรึกษาแนะนําที่ดี ก็อาจจะไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสําเร็จเท่าที่ควร ในงานการละครของ พรานบูรพ์นั้น บุคคลผู้มีส่วนสําคัญในอันที่จะผลักดันให้พรานบูรพ์และคณะละครดําเนินการไปได้ ดี คือ ครูพิมพ์ พวงนาค มิตรผู้มีอุปการะของพรานบูรพ์ ผู้เคยร่วมเดินทางร่วมกันนอนมากับ คณะละครจันทโรภาสมาแต่ต้น เป็นผู้ให้กําลังใจให้คําปรึกษาและจัดการงานทุกอย่างไปใต้ด้วยดี ท่านรําลึกถึงคุณความดีของครูพิมพ์ พวงนาค ประดุจผู้มีพระคุณท่านหนึ่งเสมอมาจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต

ท่านได้แต่งเพลงและแสดงละครไปตลอดทั่วทุกภูมิภาคเป็นเวลานานหลายสิบปี บทละครต่าง ๆ ก็กระจัดกระจายหายสูญไปมากอย่างน่าเสียดาย เพราะไม่ค่อยจัดเก็บหรือรวบรวมบันทึกเป็นหลักฐานไว้ อย่างฝรั่งนั้นมักนิยมรวมผลงานไว้และบันทึกเป็นหลักฐานอย่างรัดกุม แต่สําหรับพรานบูรพ์แล้ว ละครที่เล่นนั้นเมื่อเล่นจบหรือเลิกแสดงละครเรื่องนั้นแล้วก็เลิกกัน ไม่มีใครคิดเก็บรวบรวมบันทึกเป็นหลักฐานไว้จึงกระจัดกระจายหายสูญไปมากต่อมาอย่างน่าเสียดาย ที่ยังคงอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นผลงานยอดนิยมของประชาชนเท่านั้น ซึ่งมีอยู่ไม่ก็เสียงและเพลงไม่กี่เพลง

ในบรรดาบทละครและเพลงของท่านนับร้อย ๆ เรื่อง ร้อย ๆ เพลงนั้น ต้นฉบับ ที่พอจะหาได้และเก็บรักษาไว้ ได้อยู่ที่ครู พิมพ์ พวงนาค เพียง 10 กว่าเรื่องเท่านั้น

เรื่องละครร้องขณะนี้กําลังจะค่อย ๆ สูญสลายไปทีละน้อยอย่างน่าเสียดายเพราะ อิทธิพลของการบันเทิงในรูปแบบอื่นเข้ามาแทรกเซาะเป็นอันมากอีกทั้งความเจริญทางตะวันตกก็ หลั่งไหลเข้ามาจนคนไทยแวบจะลืมความเป็นไทยกันอยู่แล้ว ปัจจุบันนี้คนเราไม่มีเวลาพอที่จะ มาดูละครร้องเหมือนเช่นในอดีต เพราะทางธุรกิจการงานเร่งรัดจึงทําให้สุนทรียภาพของคนในปัจจุบันเหลือน้อยลงทุกที่ ด้วยเหตุนี้ความนิยมในละครร้องของเก่าจึงหมดความนิยมลงไป อีกทั้งดาราละครรุ่นเก่าที่เคยรู้เรื่องก็ถึงแก่กรรมไปทีละคนสองคนจนเกือบจะหมดสิ้นแล้ว เรื่องราวของตัวละครร้องที่เด่นดัง เช่น แม่บุนนาค แม่เลื่อน ตลอดจนพรานบูรพ์เอง รวมทั้งผลงานของท่านเหล่านี้ก็ไม่ได้มีการรวบรวมไว้เป็นหลักเป็นฐานจึงกระจัดกระจายไปเป็นอันมาก เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง

ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานเพลิงและละครมากมายเหลือคณานับ ในส่วนที่หลงเหลือจตจํากันได้ก็นับว่ามากแล้ว แต่ส่วนที่สูญหายไปจะมีอีกสักเท่าไรไม่มีผู้ใดทราบได้ เพราะไม่มีผู้รวบรวมไว้เลยดังที่กล่าวแล้ว แต่ในส่วนที่ยังเหลืออยู่นี่แหละ ศิลปินทั้งหลายยึดถือว่าเป็นผลงานศิลปะชั้นครู ที่มิอาจลอกเลียนเปลี่ยนแปลงให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ท่านได้ทําไว้ เป็นอมตะแล้ว

ท่านได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่กับละครและเพลง ร่อนเร่พเนจรแสดงไปในทั่วทุกท้องถิ่น ได้เงินค่าแสดงพอเลี้ยงชีพกับคณะละครให้อยู่รอดไปได้ ชีวิตของท่านจึงดูคล้ายวณิพกผู้พเนจร เที่ยวแสดงละครร้องของท่านไปทั่วทุกหัวระแหง ท่านเป็นผู้มีความอดทนและตั้งใจประกอบกรรมดีตลอดมา ท่านยึดถือแนวทางศิลปะเป็นที่ตั้ง ถึงแม้ว่าผู้ใดจะให้ค่าตอบแทนอย่างงามโดยให้ท่านทําเพลงในรูปแบบที่ผิดศีลธรรม หรืออาจเป็นผลเสียแก่งานศิลปะและกระทบกระเทือนวงการศิลปินแล้วท่านจะไม่ยอมรับทําเป็นอันขาด

พรานบูรพ์และคณะละครจันทโรภาสได้สร้างงานศิลปการละครฝากไว้แก่ผู้ดู ผู้ชม มาเมื่อสมัย 30-40 ปี ก่อนโน้นจึงถึงระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ยังแสดงอยู่บ้างไม่มากนักจนกระทั่งการบันเทิงอย่างอื่นเข้ามาแทรกแซง เช่น ภาพยนตร์ฝรั่ง, เพลงสากลประเภทแจ๊ส ชาโดว์ ตลอดจนโทรทัศน์ ฯลฯ ทําให้บทบาทของละครเวทีต้อยลงไปอย่างมากและสูญสลายไป กับกาลสมัยไปในที่สุด

สําหรับในชีวิตส่วนตัวนั้น ท่านสมรสกับ คุณศรี นางเอกละครร้องคณะ ราตรีพัฒนาและเป็นมารดาของบุตรชายหญิง 4 คน ได้แก่ นายจารุ นางสาวจุไร นางสาวจามรี และนางสาวจริยา ลูกชายคนโตนั้นถึงแก่กรรมในวัยหนุ่ม นอกจากนี้ท่านยังมีบุตรชายอีกคนหนึ่ง เกิดจากภรรยาชื่อ เทียมน้อย เป็นนักแต่งเพลงไทยสากลผู้มีชื่อเสียงและผลงานดีเด่นเป็นที่รู้จัก กันดี คือ นายจงรักษ์ จันทร์คณา เป็นทายาทผู้รับสายเลือตศิลปินจากบิดาได้มากที่สุต

พรานบูรพ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2517 รวมอายุได้ 74 ปี

แม้ว่าท่านจะจากไปแค่ร่างกาย แต่วิญญาณยังคงอยู่ในบทเพลงบทละครอัน ไพเราะเป็นอมตะจับใจฝากไว้กับประชาชนคนไทยและเป็นมรดกล้ําค่าของชาติไทยไปอีกนาน เท่านาน

Leave a reply

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.