นกแล

นกแล

 

วงนกแล ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2523-2524 โดยผู้ก่อตั้งคือ อาจารย์สมเกียรติ สุยะราช อดีตอาจารย์ผู้สอนโรงเรียนพุทธิโสภณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะใช้วิธีคัดเด็กมาเป็นนักดนตรีวงดุริยางค์ก่อน หลังจากนั้นก็จะคัดเด็กที่สนใจและมีความกระตือรือร้นอยากเล่นดนตรี ในสัดส่วน 1 : 5 จากยอด 100 คน เพื่อจะส่งเสริมเรื่องของดนตรีสากลและดนตรีพื้นบ้าน

 ในยุคแรกของวงนกแล มีเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น เช่น กีต้าร์ บองโก้  ขลุ่ย  เมโลเดียน และใช้เครื่องดนตรีของวงดุริยางค์มาเล่น หลังจากนั้นเมื่อการซ้อมแน่นแล้วก็เริ่มลองไฟด้วยการออกงานการกุศล ส่วนใหญ่ใช้เพลงของจรัล มโนเพชร มาเล่นเป็นหลัก เนื่องจากช่วงดังกล่าวเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมสูง จากนั้นก็ปรับปรุงวงดนตรีด้วยการแต่งกายด้วยชุดเผ่าม้ง อันเป็นการสร้างเอกลักษณ์ของวงในต่อมา

 จากนั้นปี 2526 วงนกแลได้พัฒนาสู่การตั้งเป็นวงสตริงเต็มรูปแบบ โดยเด็กสมาชิกในวงทุกคนจะเล่นดนตรีเอง เหมือนวงผู้ใหญ่ทุกอย่าง และในปีนี้เองที่ผลงานเริ่มเข้าตาแมวมอง จนกระทั่งได้ขึ้นเวทีใหญ่เวทีแรกของวงนกแล คือ เวทีคอนเสิร์ตโลกดนตรี ที่มีอดีตพิธีกรผู้ล่วงลับ เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ เป็นโฆษก และต่อเนื่องด้วยการแสดงเต็มวงอีกครั้งที่ช่อง 5 สนามเป้า และวันดังกล่าวที่ผู้ก่อตั้งค่ายเพลงแกรมมี่ “เต๋ เรวัติ พุฒินันท์” ได้มีโอกาสชมการแสดง จึงนำมาสู่การทำเทปอย่างเป็นทางการครั้งแรก

 ในปี พ.ศ. 2528 อัลบั้มชุดแรกของวงนกแล ‘หนุ่มดอยเต่า’ ก็วางแผง และสร้างปรากฏการณ์กลายเป็นเพลงฮิตไปทั่วประเทศ จากนั้นวงนกแลได้รับรางวัลทางดนตรีมากมาย และได้รับเชิญไปแสดงในต่างประเทศ ทั้งที่ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา

 โดย ตลอดเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา วงนกแลได้มีผลงานดังนี้ ในปี 2528 ออกเทปชุดหนุ่มดอยเต่า ปี 2529 ชุดอุ้ยซึ่งเป็นอัลบั้มแรกของนกแล ใต้สังกัดแกรมมี่ และตามด้วย อัลบั้มสิบล้อ ( 2530), ช้าง (2531)และ ทิงนองนอย (2532) รวมเป็น 4 อัลบั้ม ในช่วงเวลา 4 ปี

สมาชิกวงในยุคแกรมมี่ (2528-2532)

ครูสมเกียรติ สุยะราช : ควบคุมวง, กีตาร์
นพดล สุยะราช (แจ๊ค): กีตาร์ (2530-2532)
สุวิทย์ ไชยช่วย (หนึ่ง 1): กลอง, ร้องนำ (2528-2529)
ปรัชญา ปัญจปัญญา (หนุ่ม 1): คีย์บอร์ด, ร้องนำ
โสฬส สุขเจริญ : กีตาร์ (2528-2529)
ทิพย์พร นามปวน (นก): เบส
ทินกร ศรีวิชัย (ยัน): กลองบองโก้, ทรัมเป็ท, ร้องนำ
อุดร ตาสุรินทร์ (ดร): กลอง, ทรอมโบน, กลองทอมบ้า, กลองทิมบาเลส
ศิริลักษณ์ จุมปามณีวร (น้อย): ร้องนำ, กลองทอมบ้า, เทนเน่อร์ แซ็คโซโฟน
ดาราภรณ์ ศรีวิชัย (หนึ่ง 2): ร้องนำ, จังหวะ, ทรัมเป็ท
แพรวพราว ไชยทิพย์ (ตุ๊กตา): โฆษก, จังหวะ, อัลโต้ แซ็คโซโฟน (2528-2531)
อภิชาติ ขันแข็ง (เอ): ร้องนำ, เครื่องเคาะ (2529-2531)
ศรัญญา อุปพันธ์ (ตุ๊ดตู่): ร้องนำ (2529-2532)
สุพรรณิการ์ เมธาปริญญา (กุ๊กไก่): ร้องนำ (2530-2532)

หนุ่มดอยเต่า (2528)

หนุ่มดอยเต่า
มาโรงเรียน
ร้องไห้หาแม่
สุดสาคร
นกแล
กิ๋นกำหน้อย
เลือกเกิดไม่ได้
อย่าหลงผิด
กระต่ายน้อย
คืนถิ่น

อุ๊ย (2529)

อุ๊ย
ลองดู
ลักเตี่ยว
สงกรานต์
ดอยเต่าอินเจแปน
พร้อมใจ
บ้านเฮา
อย่ากินทิ้งขว้าง
ลูกแม่ระมิงค์
ก.ไก่กินข้าว
บ่ถ้ากี๊ดนัก

สิบล้อมาแล้ว (2530)

สิบล้อมาแล้ว
ค.ย.คำย่อ
อย่าลืมน้องสาว
มีวัวมาขาย
รอไปก่อน
สบายใจไทยแลนด์
หมาน้อยเอย
ลูกทหาร
เกิดเป็นเทวดา
เกิดเป็นคน

ช้าง (2531)

  • ช้างชื่อน้อย
  • คนเดียวโด่เด่
  • คนพลัดถิ่น
  • ไอ้หนุ่มผมยาว
  • ลูกสาวเชียงใหม่
  • เรื่องเก่าเล่าใหม่
  • ครูขา
  • กบ อ๊บ อ๊บ
  • คิดถึงพ่อ
  • จ.จาน จ.จน
  • คอนเสิร์ตคนจน

ทิงนองนอย (2532)

ปุ๊บปั๊บ
ติดอ่าง
เราสองคน
จุกตาย
พี่สาว
ทิงนองนอย
ซุบซิบ
ลาก่อน กทม.
ปลูกป่า
แบบไทยไทย
Avatar

ผู้เขียน: เจ้าชายน้อย

หนึ่งในสมาชิกทีมเวบไซต์บ้านเพลงเก่า เข้ามาร่วมหัวจมท้ายกับทีมผู้จัดทำ นายเจ มอลลี่ พี่ดา เข้ามาเป็นคนสุดท้าย และก็เป็นผู้ดูแลเว็บบ้านเพลงเก่าในปัจจุบันนี้ ความรู้เรื่องเพลงเก่าอาจจะมีไม่มาก แต่ว่าจะพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลเท่าที่จะหาได้นะครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.